อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนในประเทศไทย

00025-1-1-l-small

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? เป็นที่ทราบกันดีว่า องค์การอนามัยโลกได้รณรงค์ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาอย่างต่อเนื่อง และได้ตั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนไว้ที่ร้อยละ 50 ภายในปี ค.ศ. 2025 ในปัจจุบันอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนโดยภาพรวมอยู่ที่ร้อยละ 39

? ? ? ? ? ? ? ?สำหรับในประเทศไทยปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ.2547 กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศนโยบาย แนะนำให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และตั้งเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2544-2549) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) ไว้ว่า ทารกควรได้รับนมแม่อย่างเดียวนาน 6 เดือนอย่างน้อยร้อยละ 30 ?แต่จากการติดตามผลการดำเนินการเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่นั้นพบว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยสี่เดือนในปี 2536-2544 พบตั้งแต่ร้อยละ 1.0-16.31 ในปี พ.ศ.2549 องค์กรยูนิเซฟสำรวจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทยพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนร้อยละ 5.4 ในปี พ.ศ.2552 จากการสำรวจอนามัยการเจริญพันธุ์ (National Reproductive Health Survey) ใน 76 จังหวัดทั่วประเทศพบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนร้อยละ 15.52

? ? ? ? ? ? และในปี พ.ศ. 2555 องค์กรยูนิเซฟได้มีการสำรวจการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนในประเทศไทยซ้ำ พบว่าอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หกเดือนเท่ากับร้อยละ 12.3 ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดิมในปี พ.ศ.2549 จะเห็นว่าตัวเลขของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำและไม่บรรลุเป้าหมาย แต่จากข้อมูลของกรมอนามัยในปี พ.ศ.2555 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนเท่ากับร้อยละ 47.5 โดยข้อมูลนี้เป็นข้อมูลจากฐานข้อมูลในโรงพยาบาลซึ่งจะมีความแตกต่างจากข้อมูลที่สำรวจในชุมชน ขณะที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559) ได้ตั้งเป้าหมายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 50 ซึ่งขยับเป้าหมายสูงขึ้น การจะบรรลุเป้าหมายนี้เป็นสิ่งท้าทายที่จำเป็นต้องความร่วมมือของทุกภาคส่วน รวมทั้งความตื่นตัวของกระแสสังคมและการสนับสนุนในด้านนโยบายที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจน

เอกสารอ้างอิง

  1. Puapornpong P, Manolerdthewan W, Raungrongmorakot K, Ketsuwan S, Wongin S. Factor effecting on breastfeeding success in infants up to 6 month of age in Nakhon Nayok province. J Med Health Sci 2009;16:116-23.
  2. Kongsri S, Limwattananon S, Sirilak S, Prakongsai P, Tangcharoensathien V. Equity of access to and utilization of reproductive health services in Thailand: national Reproductive Health Survey data, 2006 and 2009. Reprod Health Matters 2011;19:86-97.