รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การเรียนการสอนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในโรงเรียนแพทย์เริ่มมีการบรรจุหัวข้อนี้ลงในเกณฑ์การประกอบวิชาชีพเวชกรรม ปี พ.ศ. 2555 แต่หัวข้อนี้ในการสอนแพทย์ประจำบ้านยังมีอยู่น้อยและยังขาดความชัดเจนในวัตถุประสงค์การเรียนรู้และการประเมิน ซึ่งแพทย์ประจำบ้านเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ มีการศึกษาถึงการเรียนการสอนของแพทย์ประจำบ้านในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศสวีเดน พบว่า แพทย์ประจำบ้านมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในเรื่องการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่าที่ควรจะเป็น จึงมีการกำหนดวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ไว้ดังนี้1
เมื่อสิ้นสุดการเรียนรู้หัวข้อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แพทย์ประจำบ้านควรจะสามารถ
- ประเมินเทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
- ช่วยมารดาให้มีเทคนิคการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่เหมาะสมได้
- อธิบายปัญหาที่พบในมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
- สรุปประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อมารดาและทารกได้
- ส่งต่อมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้กับหน่วยงานที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนได้อย่างเหมาะสม
? ? ? ? ? ในประเทศไทยอาจนำวัตถุประสงค์เหล่านี้ ไปจัดเกณฑ์การประเมินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของแพทย์ประจำบ้านในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้
หนังสืออ้างอิง
- Pound CM, Moreau KA, Hart F, Ward N, Plint AC. The planning of a national breastfeeding educational intervention for medical residents. Med Educ Online 2015;20:26380.