การใช้ตัวชี้วัดเป็นกลไกพัฒนาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

1410868492600

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนหรือการรณรงค์ในการสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ข้อมูลหรือการเก็บสถิติมีความสำคัญ บุคลากรทางการแพทย์จำเป็นต้องทราบข้อมูลเหล่านี้เพื่อสร้างเป้าหมายและกำหนดตัวชี้วัดในการทำงาน มีการศึกษาถึงการใช้ตัวชี้วัดเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาเป็นกลไกในการพัฒนาสุขภาพของเมืองไฟรา เดอ ซานตานา ในประเทศบราซิล ซึ่งใช้ตัวชี้วัดการที่ทารกได้กินนมแม่ภายในหนึ่งชั่วโมงแรกหลังคลอด การกินนมแม่อย่างเดียวของทารกในหกเดือนแรก และการกินนมแม่ของทารกอายุ 9-12 เดือน ซึ่งหลังจากการกำหนดตัวชี้วัดที่ชัดเจน การเปลี่ยนแปลงของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็มีแนวโน้มในการพัฒนาดีขึ้น1

? ? ? ? ? ? ? ?ในประเทศไทย หากจะส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถาบันผลิตแพทย์ คงต้องกำหนดตัวชี้วัดในเรื่องนี้ไว้ในการประเมินคุณภาพการศึกษา โดยกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือหากเป็นในด้านการบริการ ต้องกำหนดไว้ในตัวชี้วัดเบื้องต้นของสถาบันรับรองและพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ร่วมกับการกำหนดที่ชัดเจนในแผนงานด้านสุขภาพ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติด้วย ?ซึ่งหากทำได้ อนาคตเด็กไทยคงได้กินนมแม่มากขึ้น

หนังสืออ้างอิง

  1. Vieira GO, Reis MR, Vieira TO, Oliveira NF, Silva LR, Giugliani ER. Trends in breastfeeding indicators in a city of northeastern Brazil. J Pediatr (Rio J) 2015.