ข้อแนะนำในการลดความเสี่ยงในการเกิดการเสียชีวิตของทารกแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้คาดหวัง

01_13

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาจัดทำข้อแนะนำในการลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตของทารกแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้คาดหวัง (sudden unexpected infant death หรือ SUID) ไว้ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และมารดาช่วยป้องกันและลดปัญหานี้ ข้อแนะนำมี ดังนี้1

  • การนอนของทารก แนะนำให้นอนหงายทุกครั้ง (back to sleep)
  • ใช้ที่นอนที่มีความแข็งพอเหมาะ
  • แนะนำให้นอนร่วมห้องกับทารก (room sharing) ไม่แนะนำให้นอนร่วมเตียงกับทารก (bed sharing)
  • แนะนำให้นำผ้าหรือวัตถุอ่อนนุ่มออกจากที่นอนของทารก เช่น หมอนหรือตุ๊กตาที่นิ่มเกินไป
  • มารดาควรจะมาติดตามการฝากครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ หรือใช้สารเสพติดระหว่างการตั้งครรภ์และหลังคลอด
  • ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • หลีกเลี่ยงการห่มผ้าหนาเกินไป ซึ่งจะทำให้ร่างกายของทารกมีอุณหภูมิสูง (hyperthermia)
  • ฉีดวัคซีนให้กับทารก
  • ไม่ควรใช้เครื่องมือที่ติดตามการเต้นของหัวใจและการหายใจที่บ้าน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน (sudden infant death syndrome)
  • ควรมีการเฝ้าดูแลทารกในช่วงหลังรับประทานใหม่หรือระหว่างการย่อยอาหาร
  • บุคลากรทางการแพทย์ควรจะแนะนำการลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลันโดยไม่ได้คาดหวังตั้งแต่ในระยะคลอดหรือหลังคลอดใหม่ๆ

ในสหรัฐอเมริกา มีการรณรงค์การนอนหงายของทารก (back to sleep) ซึ่งโดยภาพรวมเป็นประโยชน์ในการลดการเกิดภาวะทารกเสียชีวิตแบบเฉียบพลันได้จาก 10000 รายต่อปีเหลือ 2500 รายต่อปี ดังนั้นหากจะมีการนำการรณรงค์นี้มาใช้ควรจะมีการวางแผน สื่อสาร สร้างความตื่นตัวในสังคม และติดตามประเมินผลเพื่อการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผล

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Berkowitz CD. Sudden infant death syndrome, sudden unexpected infant death, and apparent life-threatening events. Adv Pediatr 2012;59:183-208.