รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
โรคเบาหวานที่พบในมารดาก่อนการตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อทั้งทารกและมารดา โดยหากมารดาตั้งครรภ์จะเกิดผลเสียแก่ทารก1 ได้แก่
ทารกมีความพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น โดยความพิการของทารกที่พบบ่อยคือ ความผิดปกติของหัวใจ ซึ่งชนิดของความผิดปกติของหัวใจที่พบบ่อย ได้แก่ การมีรูรั่วของผนังกั้นหัวใจห้องล่าง (ventricular septum defect หรือ VSD) นอกจากนี้ยังพบการมีรูรั่วของผนังกั้นหัวใจห้องบน (atrial septum defect หรือ ASD) ความผิดปกติจากการย้ายข้างของเส้นเลือดแดงใหญ่ (transposition of great arteries) การทำงานผิดปกติของหัวใจจากกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว (hypertrophic cardiomyopathy) การไม่ปิดของท่อประสาท (neural tube defect) ภาวะที่ทารกไม่มีกะโหลกศีรษะ (anencephaly) การมีลำไส้/ทวารหนักอุดตัน (duodenal, anal-rectal atresia) และความผิดปกติของท่อทางเดินปัสสาวะ แต่สำหรับลักษณะความพิการที่พบแล้ว จะแสดงบ่งถึงว่ามารดาเป็นเบาหวานในระหว่างการตั้งครรภ์คือ กลุ่มอาการ caudal regression ที่เป็นกลุ่มอาการที่ทารกไม่มีพัฒนาการของกระดูกสันหลังส่วนปลาย ทำมีผลทำให้เกิดความผิดปกติของเชิงกราน และขาตามมา โดยหากมีความรุนแรงมากจะไม่พบการพัฒนาการของขาของทารก ทำให้ส่วนล่างของลำตัวทารกเป็นลำยาวเรียก sirenomelia หรือ mermaid syndrome ซึ่งมารดาที่เป็นเบาหวานก่อนการตั้งครรภ์จะพบทารกมีความพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้น 1.9-10 เท่าเมื่อเทียบกับมารดาปกติ ขณะที่มารดาที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์จะพบทารกมีความพิการแต่กำเนิดเพิ่มขึ้นเล็กน้อยคือ 1.1-1.3 เท่าเมื่อเทียบกับมารดาปกติเอกสารอ้างอิง
- Mitanchez D, Yzydorczyk C, Siddeek B, Boubred F, Benahmed M, Simeoni U. The offspring of the diabetic mother–short- and long-term implications. Best Pract Res Clin Obstet Gynaecol 2015;29:256-69.