การผ่าตัดคลอด อุปสรรคของการเริ่มเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

               วิธีการคลอดบุตรเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มารดาที่คลอดปกติทางช่องคลอดจะสามารถเริ่มกระบวนการส่งเสริมให้ลูกได้กินนมแม่ได้เร็วกว่ามารดาที่ผ่าตัดคลอด ดังนั้นเมื่อมีการผ่าตัดคลอดเพิ่มขึ้น การผ่าตัดคลอดจึงถือเป็นอุปสรรคที่พบบ่อยในการเริ่มการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น เนื่องจากกระบวนการในการดูแลการผ่าตัดคลอดมักทำให้การเริ่มต้นการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้ช้ากว่า1 และต้องการการช่วยเหลือในการจัดท่าให้นมลูกมากกว่ามารดาที่คลอดทางช่องคลอด นอกจากนี้การผ่าตัดคลอดยังมีความเสี่ยงในการมีน้ำนมมาช้า 2.40 เท่า (95%CI 1.28-4.51)2 อย่างไรก็ตาม เมื่อมารดาสามารถเริ่มให้นมลูกได้แล้ว วิธีการคลอดพบว่าไม่มีผลต่อระยะเวลาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่3-5

เอกสารอ้างอิง

  1. Chen C, Yan Y, Gao X, et al. Influences of Cesarean Delivery on Breastfeeding Practices and Duration: A Prospective Cohort Study. J Hum Lact 2018;34:526-34.
  2. Scott JA, Binns CW, Oddy WH. Predictors of delayed onset of lactation. Matern Child Nutr 2007;3:186-93.
  3. Dennis CL. Breastfeeding initiation and duration: a 1990-2000 literature review. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2002;31:12-32.
  4. Scott JA, Landers MC, Hughes RM, Binns CW. Factors associated with breastfeeding at discharge and duration of breastfeeding. J Paediatr Child Health 2001;37:254-61.
  5. Cernadas JM, Noceda G, Barrera L, Martinez AM, Garsd A. Maternal and perinatal factors influencing the duration of exclusive breastfeeding during the first 6 months of life. J Hum Lact 2003;19:136-44.