โรคความดันโลหิตสูงกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตอนที่ 8

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ยาลดความดันโลหิตในกรณีมารดามีความดันโลหิตสูงมาก

                         สำหรับประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิตของยา labetalol, hydralazine และ nifedipine พบว่าใกล้เคียงกัน1  โดยทั่วไปในมารดาที่มีภาวะครรภ์เป็นพิษ หลังคลอดความดันโลหิตจะค่อย ๆ ลดจนกลับเป็นปกติภายใน 4-6 สัปดาห์ แนวทางในการดูแลรักษาจะพิจารณาจากค่าความดันโลหิตของมารดา โดยในกรณีหลังคลอดขณะที่มารดาอยู่ในโรงพยาบาล หากมีค่าความดันโลหิตสูงมากบ่อย ๆ  มีความจำเป็นต้องให้ยาลดความดันโลหิตชนิดรับประทานต่อเนื่องเพื่อควบคุมความดันโลหิตให้ใกล้เคียงกับปกติก่อนการอนุญาตให้มารดากลับบ้าน ส่วนในกรณีที่หลังคลอดแล้วความดันโลหิตของมารดาลดลง โดยที่ไม่พบค่าความดันโลหิตที่สูงมากที่จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน แนวทางการดูแลรักษาอาจจะใช้การนัดติดตามดูอาการและค่าความดันโลหิตของมารดา โดยไม่จำเป็นต้องมีการใช้ยาเพื่อลดความดันโลหิต แต่จากการศึกษาระยะหลังมีการสนับสนุนการใช้ยาลดความดันโลหิตชนิดรับประทานอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 สัปดาห์หลังคลอด เนื่องจากจะช่วยเพิ่มเซลล์ต้นกำเนิดเยื่อบุผิว (epithelial progenitor cell) ของหลอดเลือด ซึ่งจะส่งผลช่วยให้การฟื้นตัวของหลอดเลือด (vascular regeneration) ที่เสียหายจากภาวะครรภ์เป็นพิษกลับมาเป็นปกติได้เร็วขึ้น2

เอกสารอ้างอิง

  1. ACOG Practice Bulletin No. 202: Gestational Hypertension and Preeclampsia. Obstet Gynecol 2019;133:e1-e25.
  2. Wang Y, Liu C, He X, Li Y, Zou Y. Effects of metoprolol, methyldopa, and nifedipine on endothelial progenitor cells in patients with gestational hypertension and preeclampsia. Clin Exp Pharmacol Physiol 2019.