รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? เต้านมมารดาจะคัดในช่วงระยะแรกหลังคลอด จากนั้นอาการคัดเต้านมจะค่อยๆ หายไป ซึ่งช่วงแรกของการคัดเต้านมเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงหลังคลอด อาการคัดเต้านมอาจพบได้อีกในกรณีที่มารดาเว้นระยะการให้ลูกดูดนมนาน ซึ่งการคัดเต้านมนี้เกิดจากการคั่งของน้ำนมที่ไม่ได้ระบาย ทำให้อาจมีผลเสียต่อการสร้างน้ำนมเนื่องจากร่างกายสำคัญผิดว่า มีน้ำนมมากจนคัดแล้ว ทำให้สร้างน้ำนมน้อยลง ดังนั้น หากมารดาให้นมลูกบ่อย ๆ อาจไม่พบว่าเต้านมคัดหรือรู้สึกคัดเต้านม ซึ่งการที่ไม่ได้รู้สึกคัดเต้านมนี้ไม่ได้สะท้อนว่ามารดาไม่มีน้ำนม จึงไม่ควรไปผูกความเชื่อที่ว่า ?เต้านมไม่คัดจะไม่มีน้ำนม? แต่ควรสร้างค่านิยมในการดูดนมให้เกลี้ยงเต้า เพราะร่างกายของมารดาจะสร้างน้ำนมตามความต้องการของทารก ?ยิ่งทารกดูดนมเกลี้ยงเต้ามารดามากขึ้นเท่าไร เต้านมมารดายิ่งสร้างน้ำนมมากขึ้นเท่านั้น? (The more your breast is empty, the more your milk will be built.)