เต้านมอักเสบในมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวี

B2

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

?????????? -ในมารดาที่มีการติดเชื้อเอชไอวี เต้านมอักเสบหรือมีหัวนมแตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีเลือดหรือน้ำเหลืองไหลออกมา อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชไอวี

??????????? -หากมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวีมีเต้านมอักเสบ เป็นฝีที่เต้านมหรือมีหัวนมแตก มารดาควรหลีกเลี่ยงการให้นมจากเต้านมข้างที่มีอาการ และควรได้รับการแนะนำให้บีบนมหรือปั๊มนมออกเพื่อป้องกันการมีน้ำนมขังอยู่ในเต้านม ทำให้ป้องกันการแย่ลงของอาการและช่วยให้อาการหายเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการคงการสร้างของน้ำนมให้มีอย่างต่อเนื่อง บุคลากรทางการแพทย์ควรช่วยทำให้มั่นใจว่ามารดาสามารถบีบหรือปั๊มน้ำนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

??????????? -การให้ยาฆ่าเชื้อเป็นข้อบ่งชี้ในมารดาที่ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งการใช้ยาฆ่าเชื้อควรได้รับยาจนครบ 10-14 วัน เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

??????????? -ถ้ามารดามีเต้านมอักเสบข้างเดียว มารดาสามารถให้นมจากเต้านมอีกข้างได้โดยให้บ่อยขึ้นและนานขึ้น? ซึ่งจะทำให้การสร้างน้ำนมมีมากขึ้นและเพียงพอสำหรับทารก หลังจากนั้นเมื่อเต้านมที่อักเสบหายแล้วก็สามารถกลับมาให้นมข้างที่เป็นได้

??????????? -หากมารดามีเต้านมอักเสบทั้งสองข้าง ควรงดการให้นมทารก แต่จำเป็นต้องบีบหรือปั๊มนมออกบ่อยๆ และให้เกลี้ยงเต้า เพื่อคงการสร้างน้ำนมและเมื่อหายแล้ว การให้นมลูกก็สามารถกลับมาให้ได้ใหม่

??????????? -บุคลากรทางการแพทย์ควรอภิปรายกับมารดาถึงทางเลือกของการให้นม โดยมารดาอาจจะเลือกที่จะใช้นมแม่ที่ผ่านความร้อนหรือใช้นมผสมสำหรับการเลี้ยงทารก แต่การป้อนนมควรป้อนนมด้วยถ้วย เพื่อให้การกลับมากินนมแม่จากเต้านมสามารถทำได้เมื่อภาวะเต้านมอักเสบหายดีแล้ว

??????????? -บางครั้งมารดาอาจจะตัดสินใจที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่มารดาก็ควรบีบหรือปั๊มนมออกให้ดีเพื่อช่วยในการหายของเต้านมอักเสบ เมื่อหายแล้วจึงลดและหยุดบีบหรือปั๊มนม น้ำนมก็จะหยุดไปเอง

หนังสืออ้างอิง

1.????? WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009