รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ?ในการบีบเก็บหรือปั๊มนมนั้น โดยทั่วไปจะเริ่มทำในกรณีที่มารดามีอาการตึงคัดเต้านมหรือช่วงที่มารดาจำเป็นต้องแยกจากทารกและต้องการเก็บน้ำนม ช่วงหลังคลอดใหม่ ๆ ในระยะแรก มารดาเริ่มการน้ำนมมา อาจพบการตึงคัดเต้านม ซึ่งการดูแลสามารถทำได้โดยการประคบร้อนให้ท่อน้ำนมและระบบไหลเวียนของเลือดและน้ำเหลืองไหลเวียนได้ดี นวดเต้านม และให้ทารกดูดนมจากเต้า ในระยะแรกนี้การบีบน้ำนมด้วยมือมีรายงานว่าช่วยระบายน้ำนมได้ดีกว่าการปั๊มนม
? ? ? ? ? ? ? ? หลังจากในช่วงแรกหลังคลอดแล้ว หากมารดามีการกระตุ้นให้นมลูก 8-12 ครั้งต่อวันแล้วโดยที่มารดาและทารกมีช่วงเวลาที่อยู่ด้วยกันตลอด ไม่มีการตึงคัดเต้านม ทารกกินนมได้ดีและน้ำหนักขึ้นตามเกณฑ์ ในช่วงนี้อาจไม่มีความจำเป็นต้องบีบหรือปั๊มนมเก็บ แต่เมื่อทารกเริ่มโตขึ้น จำนวนมื้อที่ทารกกินนมจะเริ่มห่างออก มารดาบางคนจะมีการตึงคัดเต้านมเนื่องจากมีการสร้างน้ำนมมาเร็วเหมือนกับในช่วงที่ให้นมลูกบ่อย ๆ ในระยะนี้ มารดาควรบีบเก็บน้ำนมเพื่อสำรองนมไว้ใช้ในช่วงที่มารดาอาจต้องไปทำงานและเป็นการช่วยลดการตึงคัดเต้านมด้วย สำหรับเคล็ดลับในการบีบน้ำนมหรือเลือกการปั๊มนมด้วยเครื่องปั๊มนมสามารถทำได้แล้วแต่ความสะดวกของมารดาในแต่ละคน การบีบน้ำนมด้วยมือมีข้อดีคือไม่ต้องใช้อุปกรณ์เสริมพิเศษใด ๆ ในการเก็บน้ำนม ทำให้ประหยัดกว่า ส่วนการใช้เครื่องปั๊มนมด้วยไฟฟ้า หากเป็นเครื่องปั๊มนมที่สามารถปั๊มนมได้ทั้งสองเต้าพร้อมกัน และมีอุปกรณ์เสริมช่วยไม่ต้องใช้มือจับประคองที่ปั๊มนมขณะปั๊ม ก็มีข้อดีในส่วนที่มารดาสามารถทำงานอื่นร่วมกับการปั๊มนมได้พร้อม ๆ กัน และประหยัดเวลาในการเก็บน้ำนม
? ? ? ? ? ? ? ?การที่มารดาจะบีบเก็บน้ำนมหรือปั๊มนม ขั้นตอนในการบีบเก็บน้ำนมมีดังนี้1
- เลือกสถานที่บีบเก็บน้ำนมที่มีความเป็นส่วนตัวและมีบรรยากาศผ่อนคลาย หากมีรูปทารกดูดนมหรือในห้องที่มีมารดาให้นมทารกอยู่ อาจช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนมได้ดี
- มารดาควรมีรูปลูก ผ้าห่มตัวหรือเสื้อผ้าที่มีกลิ่นของลูก หรือการจินตนาการถึงการดูดนมของลูก สิ่งเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นการไหลของน้ำนม
- กระตุ้นหัวนมและนวดเต้านม
- บีบหรือปั๊มเก็บน้ำนมจากเต้านมราว 10-15 นาทีต่อเต้า เก็บน้ำนมให้เกลี้ยงเต้าจากเต้าหนึ่งก่อนที่จะเปลี่ยนไปเก็บน้ำนมจากอีกเต้านมหนึ่ง
เอกสารอ้างอิง
- The Office on Women?s Health. Your guide to breastfeeding. 2017