รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? โดยทั่วไป มารดาหลังคลอดจะมีความรักความผูกผันกับบุตร ซึ่งจะเป็นผลส่วนหนึ่งจากฮอร์โมนแห่งความรัก คือ ออกซิโตซิน ซึ่งมารดาที่มีภาวะซึมเศร้าจะส่งผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยมีการศึกษาพบว่า มารดาที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลงราวร้อยละ 201 ดังนั้น หากบุคลากรทางการแพทย์พบมารดาที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้า ควรวางแผนดูแลเอาใจใส่ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างใกล้ชิด และมีการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง ในทางกลับกันในมารดาที่หยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาอันควร อาจต้องตรวจสอบดูปัจจัยต่างๆ รวมถึงภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงอย่างหนึ่งในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งหากมารดามีภาวะดังกล่าว จำเป็นต้องมีการดูแลรักษาเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากภาวะซึมเศร้าที่อาจมีความรุนแรงถึงการฆ่าตัวตายได้
เอกสารอ้างอิง
- Wouk K, Stuebe AM, Meltzer-Brody S. Postpartum Mental Health and Breastfeeding Practices: An Analysis Using the 2010-2011 Pregnancy Risk Assessment Monitoring System. Matern Child Health J 2016.