สตรีให้นมบุตรควรเสริมโฟเลตหรือไม่

IMG_1667

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ?เป็นที่ทราบกันดีว่า การรับประทานโฟเลตเสริมในระหว่างการตั้งครรภ์จะช่วยป้องกันความผิดปกติของระบบประสาทในทารกได้โดยเฉพาะภาวะความผิดปกติของระบบหลอดประสาทที่ไม่ปิดหรือทารกที่ไม่มีการปิดของกะโหลกศีรษะ ซึ่งควรรับประทานโฟเลตเสริมวันละ 400 ไมโครกรัมก่อนการตั้งครรภ์ 1-3 เดือนและรับประทานต่อเนื่องอย่างน้อยใน 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ แต่ในสตรีให้นมบุตรนั้น การเสริมโฟเลตมีความจำเป็นหรือไม่ ก่อนอื่น ต้องดูความต้องการพื้นฐานในหญิงไทยที่ให้นมบุตร โดยหญิงให้นมบุตรต้องการโฟเลตหรือวิตามินบีเก้าต้องการวันละ 500 ไมโครกรัมต่อวัน โฟเลตมักพบในอาหารที่เป็นธัญพืช ผักใบเขียว กะหล่ำปลี ตับ เนื้อสัตว์ และถั่วลันเตา ในอาหารไทย ข้าวกล้องหอมมะลิมีโฟเลต 263 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม ข้าวเหนียวมีโฟเลต 169 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม ข้าวหอมมะลิมีโฟเลต 158 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม ผักโขมมีโฟเลต 160 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม ผักคะน้ามีโฟเลต 80 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม สับประรดศรีราชามีโฟเลต 301 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม ส้มโชกุนมีโฟเลต 292 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม และมะละกอแขกดำมีโฟเลต 256 ไมโครกรัมต่อ 100 กรัม จะเห็นว่า ควรแนะนำให้มารดารับประทานอาหารที่มีโฟเลตสูงในสัดส่วนที่พอเหมาะระหว่างการให้นมบุตรจะช่วยป้องกันการขาดโฟเลตในทารกได้ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโฟเลตมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนและสารพันธุกรรม ดังนั้น ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการขาดโฟเลต อาจพิจารณาการเสริมโฟเลตเพิ่มเติมจากอาหารที่รับประทาน โดยการเสริมโฟเลตในระหว่างการให้นมบุตรในมารดาที่ขาดจะเพิ่มระดับของโฟเลตในน้ำนมแม่ได้1

เอกสารอ้างอิง

  1. Abe SK, Balogun OO, Ota E, Takahashi K, Mori R. Supplementation with multiple micronutrients for breastfeeding women for improving outcomes for the mother and baby. Cochrane Database Syst Rev 2016;2:CD010647.