รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ความเชื่อดั้งเดิมในสตรีมีครรภ์ควรบำรุงมาก ๆ ไม่ควรทำงานหรือออกแรงมาก ทำให้พบสตรีตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักมีน้ำหนักเกินหรือน้ำหนักเพิ่มขึ้นไม่เหมาะสม แต่จากข้อมูลในปัจจุบันแนะนำว่า สตรีตั้งครรภ์ควรมีการควบคุมการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักให้เหมาะสม จะลดความเสี่ยงในการเกิดเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์ และควรออกกำลังกายให้ร่างกายมีความแข็งแรง ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการที่ต้องผ่าตัดคลอดได้1 โดยการออกกำลังกายควรเลือกออกกำลังกายที่เหมาะสม ไม่ควรเล่นกีฬาที่มีการประทะหรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุหกล้ม และควรเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงอายุครรภ์ เนื่องจากหากเป็นช่วงไตรมาสสาม มารดาจะมีขนาดท้องหรือมดลูกใหญ่ จะถ่วงน้ำหนักมาด้านหน้าทำให้หลังแอ่นมากขึ้น จุดศูนย์ถ่วงหรือการทรงตัวของร่างกายเปลี่ยนไป การวิ่งหรือปั่นจักรยานในพื้นที่ที่ขรุขระหรือเสี่ยงต่อการกระแทกหรือล้ม จะมีความเสี่ยงและเป็นอันตรายสำหรับครรภ์ การออกำลังกายที่เหมาะสม อาจเป็นการแกว่งแขน การนอนหรือนั่งยกขา หรือบริหารกล้ามเนื้อหลัง สำหรับโยคะสามารถทำได้โดยควรเลือกท่าที่ไม่เสี่ยงในการเกิดอันตราย
เอกสารอ้างอิง
- International Weight Management in Pregnancy Collaborative G. Effect of diet and physical activity based interventions in pregnancy on gestational weight gain and pregnancy outcomes: meta-analysis of individual participant data from randomised trials. BMJ 2017;358:j3119.