มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวพบน้ำหนักเกินในเด็กได้น้อยกว่า

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                เป็นที่ทราบกันดีว่า การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยป้องกันการเกิดโรคอ้วนในทารกเมื่อเจริญเติบโตเข้าสู่วัยเด็ก การที่ลดหรือป้องกันการเกิดการโรคอ้วนในวัยเด็กจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเมตาบอลิกต่าง ๆ ในอนาคต เมื่อเร็ว ๆ นี้มีการศึกษาถึงรายละเอียดของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่มีผลต่อดัชนีมวลกายของทารกเมื่อเจริญเข้าสู่วัยเด็กพบว่า ทารกที่กินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนหรือทารกที่กินอาหารเสริมหลังอายุห้าเดือนจะสัมพันธ์กับการมีดัชนีมวลกายที่ต่ำกว่า1 ซึ่งเป็นผลต่อการป้องกันภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ดังนั้น จากข้อมูลยิ่งส่งเสริมว่าควรปฏิบัติตามข้อแนะนำขององค์การอนามัยโลกที่แนะนำให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียวหกเดือนแล้วหลังจากนั้นควรเสริมอาหารตามวัยร่วมกับการกินนมแม่อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสองปีหรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับมารดาและทารก นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามารดายังได้ประโยชน์จากการให้ลูกกินนมแม่ในการป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงเมื่ออายุเข้าสู่วัยทองด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Sirkka O, Vrijkotte T, Halberstadt J, et al. Prospective associations of age at complementary feeding and exclusive breastfeeding duration with body mass index at 5-6 years within different risk groups. Pediatr Obes 2018.