มารดาที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบีให้ลูกกินนมแม่ได้หรือไม่

IMG_1657

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? ? ?โรคไวรัสตับอักเสบบี ในกรณีที่มารดาเป็นพาหะ การติดต่อจากมารดาไปทารกสามารถเกิดในช่วงระหว่างการตั้งครรภ์โดยการติดต่อผ่านรก หรือที่พบมากกว่าคือการติดต่อในช่วงระหว่างการคลอด ซึ่งแนะนำให้มีการให้ภูมิคุ้มกันต้านไวรัสตับอักเสบบี (hepatitis B immunoglobulin หรือ HBIG) หลังทารกเกิดทันที ร่วมกับการให้วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีแก่ทารกหลังคลอด และฉีดตามระยะอีกสองครั้ง จะช่วยป้องกันการติดเชื้อจากมารดาสู่ทารกได้มากกว่าร้อยละ 95 สำหรับการให้นมแม่ แม้ทางทฤษฎีจะมีไวรัสผ่านและตรวจพบในน้ำนมได้ แต่จากการศึกษารวบรวมสรุปผลจากหลายๆ การศึกษา (meta-analysis) พบว่าความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในทารกที่กินนมแม่ไม่แตกต่างจากทารกที่กินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกในทารกที่ได้รับการให้ภูมิคุ้มกันและฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี1,2 ดังจะเห็นว่า สมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกาได้ให้ข้อแนะนำว่า หากทารกได้ฉีดภูมิคุ้มกันและวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีแล้ว การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีและสามารถให้นมแม่ได้ ตั้งแต่ในปี พ.ศ.2552

เอกสารอ้างอิง

  1. Tran TT. Breastfeeding by mothers infected with hepatitis B carries no increased risk of transmission to infants who receive proper immunoprophylaxis: a meta-analysis. Evid Based Med 2012;17:125-6.
  2. Shi Z, Yang Y, Wang H, et al. Breastfeeding of newborns by mothers carrying hepatitis B virus: a meta-analysis and systematic review. Arch Pediatr Adolesc Med 2011;165:837-46.