มารดาที่เป็นพาหะเชื้อไวรัสตับอักเสบบีสามารถให้นมแม่ได้

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

โรคไวรัสตับอักเสบบีมาการติดต่อกันได้ง่ายผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ จากร่างกายของผู้ที่เป็นพาหะ ซึ่งในมารดาที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีจะเกิดความวิตกกังวลว่าลูกในครรภ์จะติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์หรือหลังคลอดหากทารกกินนมแม่จะมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ยังโชคดีที่การติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์พบได้น้อย ส่วนใหญ่การติดเชื้อจะเกิดขึ้นในช่วงหลังคลอดมากกว่า และในปัจจุบันมีการพบภูมิคุ้มกันที่ให้ทารกเพื่อป้องกันการติดเชื้อในทารกและมีการฉีดวัคซีนเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายทารกสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเองและส่วนใหญ่หากทารกได้รับการฉีดฉีดวัคซีนครบตามจำนวนที่ต้องการการกระตุ้น ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจะคงอยู่ตลอดชีวิต สำหรับการให้ลูกกินนมแม่จากการทบทวนอย่างเป็นระบบพบว่า การให้ลูกกินนมแม่จากมารดาที่เป็นภาหะไวรัสตับอักเสบบีนั้น ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อของทารกหากทารกได้รับการให้ภูมิคุ้มกันและวัคซีนที่หมาะสม1 จากที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์นี้ น่าจะช่วยลดความวิตกกังวลของมารดที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีที่ต้องการจะให้ลูกได้กินนแม่

เอกสารอ้างอิง

1.        Xiao F, Lan A, Mo W. Breastfeeding from mothers carrying HBV would not increase the risk of HBV infection in infants after proper immunoprophylaxis. Minerva Pediatr 2020;72:109-15.