ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคในการให้นมแม่เมื่อเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                ภัยพิบัติทางธรรมชาติเกิดขึ้นบ่อยครั้งในหลาย ๆ ประเทศรวมทั้งในประเทศไทย เช่น อุทกภัย วาตภัย สึนามิ และภัยจากแผ่นดินไหว การให้ทารกได้กินนมแม่ในระหว่างการเกิดภัยพิบัตินั้นจะช่วยลดความเสี่ยงจากอันตรายจากการติดเชื้อและลดการเสียชีวิตของทารกได้ อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาพบว่าอุปสรรคของการให้นมแม่ในระหว่างการเกิดภัยพิบัติที่พบ1 ได้แก่

  • การให้การสนับสนุนที่ไม่เหมาะสมทางสังคม เช่น การให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือการจัดหาน้ำสะอาดเพื่อการชงนมสำหรับทารก
  • การไม่มั่นใจในตนเองว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาเมื่อเกิดภัยพิบัติ
  • ความรู้ที่ถูกต้องของบุคลากรทางการแพทย์ในเรื่องการให้นมทารก
  • การมีพื้นที่ส่วนตัวที่เหมาะสมสำหรับให้นมทารก

              ความเข้าใจถึงปัจจัยที่เป็นอุปสรรคเหล่านี้ จะช่วยให้ผู้บริหารจัดการดูแลเรื่องภัยพิบัติและบุคลากรทางการแพทย์ผู้รับผิดชอบสามารถจัดการดูแลปัญหาอุปสรรคของการให้นมแม่ที่จะเกิดในระหว่างภัยพิบัติได้

เอกสารอ้างอิง

  1. MirMohamadaliIe M, Khani Jazani R, Sohrabizadeh S, Nikbakht Nasrabadi A. Barriers to Breastfeeding in Disasters in the Context of Iran. Prehosp Disaster Med 2019;34:20-4.