ปัจจัยที่มีผลต่อการขับเคลื่อนโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                แม้ว่าจะเป็นที่ทราบกันดีว่า การคลอดในโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกจะส่งเสริมและสนับสนุนให้มารดามีโอกาสมากกว่าที่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จ แต่กระบวนการที่จะสนับสนุนให้เกิดโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกนั้นมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่บุคลากรทางการแพทย์ที่สนใจที่จะรณรงณ์ให้เกิดการขับเคลื่อนของการสนับสนุนให้มีระบบโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกควรทำความเข้าใจ1 ได้แก่

  • ปัจจัยเกี่ยวกับผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (stakeholders) ที่สำคัญอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอด
  • ปัจจัยความท้าทายเชิงระบบ การเดินทาง และการเข้าถึงข้อมูลที่จะสนับสนุนให้เกิดกระบวนการของโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูก
  • ปัจจัยในการวางตำแหน่งผู้นำนโยบายอย่างเหมาะสมที่จะเอื้อให้เกิดการขับเคลื่อนนโยบายไปสู่การปฏิบัติทำได้ดีและสะดวก
  • ปัจจัยเรื่องความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของคณะทำงาน
  • ปัจจัยในการเชื่อมโยงนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม  

             การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลในสถานที่จริงที่ต้องการนำระบบโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกมาใช้โดยตระหนักถึงปัจจัยเหล่านี้จะช่วยให้สามารถสร้างแนวทางการรณรงค์ที่ส่งเสริมความสำเร็จของการสร้างระบบโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Carroll G, Atuobi-Yeboah A, Hromi-Fiedler A, Aryeetey R, Safon C, Perez-Escamilla R. Factors influencing the implementation of the becoming breastfeeding friendly initiative in Ghana. Matern Child Nutr 2019:e12787.