รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ภาวะลิ้นติดเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่ทำให้มารดาเจ็บหัวนม โดยหากขาดการให้คำปรึกษาและการดูแลที่เหมาะสม อาจทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร ในประเทศไทยพบทารกมีภาวะลิ้นติดราวร้อยละ 151 ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของทารกที่มีภาวะลิ้นติดมักมีความจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดรักษา มีการสำรวจความคิดเห็นถึงประสบการณ์ของมารดาที่มีภาวะลิ้นติดพบว่า ประมาณร้อยละ 25 ของมารดาที่มีลูกที่มีภาวะลิ้นติดมีความตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ แต่พบว่ามีปัญหาในการเข้าเต้าลำบาก นอกจากนี้ ยังพบได้บ่อยว่า มารดายังมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเอาใจใส่ในการตรวจภาวะลิ้นติดของทารกที่บุคลากรทางการแพทย์มักมองข้ามหรือพลาดในการให้การตรวจวินิจฉัย2 ซึ่งปรากฎการณ์นี้ น่าจะเหมือนกับในประเทศไทย เนื่องจากยังขาดผู้ที่รับผิดชอบที่ชัดเจนในการให้การตรวจวินิจฉัย ให้คำปรึกษา และดูแลรักษาปัญหาลิ้นติด ดังนั้น การริเริ่มกำหนดแนวทางการให้การตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะลิ้นติดจากสถาบันการแพทย์ เช่น ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ รวมทั้งมูลนิธิศูนย์นมแม่จำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการรณรงค์ ส่งเสริม และดำเนินการให้เกิดแนวทางในการปฏิบัติสำหรับทารกที่มีภาวะลิ้นติด เพื่อส่งเสริมมาตรฐานการให้บริการที่ดีและสนับสนุนให้ทารกมีโอกาสได้รับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้น
เอกสารอ้างอิง
- Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
- Wong K, Patel P, Cohen MB, Levi JR. Breastfeeding Infants with Ankyloglossia: Insight into Mothers’ Experiences. Breastfeed Med 2017;12:86-90.