ประวัติของหลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ตอนที่ 1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1960 มีการใช้กลไกทางด้านการตลาดของอาหารทดแทนนมแม่เพิ่มขึ้นเพื่อที่จะแข่งขันกับการให้นมแม่ในทารกแรกเกิด โดยเริ่มพบในพื้นที่บางส่วนของแอฟริกาและภูมิภาคอื่น ๆ ในช่วงยุคแรกที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานในพื้นที่เหล่านี้ได้สังเกตพบว่า ทารกที่ได้รับอาหารทดแทนนมแม่จะสัมพันธ์กับการเพิ่มการพบภาวะทุพโภชนาการ อาการท้องร่วง และการเสียชีวิตของทารกในพื้นที่เฝ้าระวัง มีผลทำให้หน่วยงานที่ดูแลสุขภาพระหว่างประเทศและประชาชนทั่วไปเกิดความวิตกกังวลอย่างมาก จนกระทั่งในปี ค.ศ.1981 หลังจากที่มีการประชุมระหว่างประเทศหลายครั้งและมีการศึกษาทางข้อกฎหมาย เหล่าประเทศสมาชิกของสมาคมสุขอนามัยโลก (World Health Assembly หรือคำย่อคือ WHA) ยกเว้นสหรัฐอเมริกา ได้กำหนดแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยมีมติกำหนด หลักเกณฑ์ที่ว่าด้วยการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง (The International Code of Marketing of Breastmilk Substitutes หรือใช้คำย่อว่า code นมแม่) ซึ่งหลักเกณฑ์นี้จะได้รับการปรับปรุงทุก 2 ปีผ่านการเห็นชอบของ WHA โดยจะมีการกำหนดแนวทางสำหรับบริษัทที่ผลิตและทำการตลาดอาหารทดแทนนมแม่ ขวดนมและจุกนม และแนวทางสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่จะให้คำแนะนำในการใช้อาหารทดแทนนมแม่สำหรับทารกป่วย และบทบาทของรัฐบาลที่มีหน้าที่รับผิดชอบสุขภาพของประชาชน1

เอกสารอ้างอิง

1.            Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.