ประวัติของการปกป้อง ส่งเสริมและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ตอนที่ 7

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

บันไดขั้นที่ 9: ห้ามใช้หัวนมเทียมหรือจุกนมหลอกในทารกที่กินนมแม่1 *

  • การใช้อุปกรณ์เหล่านี้มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้ทารกมีเทคนิคการดูดนมที่ไม่เหมาะสม และอาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อเพิ่มขึ้น
  • การให้ทารกกินนมจากเต้าจะช่วยให้ทารกได้ทั้งสารอาหารที่ครบถ้วนและยังช่วยในการปลอบประโลมทารกอยู่แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เหล่านี้

* หมายเหตุ: ข้อมูลจากส่วนงานกุมารเวชศาสตร์ปริกำเนิดของสมาคมกุมารแพทย์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Academy of Pediatrics) เชื่อว่ามีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการใช้จุกนมหลอกซึ่งได้แก่ การช่วยลดอาการปวดและช่วยให้ทารกที่ได้รับยาที่ทำให้ทารกตื่นตัวสงบ

บันไดขั้นที่ 10: ส่งเสริมการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และส่งต่อมารดาให้แก่กลุ่มสนับสนุนเมื่อมารดาได้รับอนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล1

  • กลุ่มสนับสนุนจะช่วยให้ข้อมูลความรู้และให้สังคมของมารดาที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ช่วยชี้และจัดหาพี่เลี้ยงในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดกับมารดา (เช่น สมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือกลุ่มสนับสนุนที่อยู่ในชุมชนใกล้กับมารดา)
  • สนับสนุนให้มารดาได้รับความช่วยเหลือจากครอบครัวและเพื่อนในช่วงระยะแรกหลังคลอด ซึ่งการที่มารดาได้พักผ่อนและรู้สึกผ่อนคลาย จะมีประโยชน์ต่อทั้งการช่วยการฟื้นตัวของมารดาจากการคลอดและการช่วยให้มารดาประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรงพยาบาลสายสัมพันธ์แม่ลูกได้มีการเผยแพร่โดยกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกผ่านทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน

เอกสารอ้างอิง

1.            Naylor AJ, Wester RA. Lactation management self-study modules, level 1, fourth edition. In: International W, ed.2014.