นมแม่ช่วยลดอิทธิพลของยีนอ้วน

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? ในคนที่เป็นโรคอ้วนส่วนหนึ่งเกิดจากพันธุกรรม ?ยีนอ้วน หรือ FTO (fat mass and obesity associated gene) เมื่อมีการแปรผันไปของยีนอ้วนจะมีผลต่อฮอร์โมนเกรลิน (ghrelin) ที่สร้างจากกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่กระตุ้นการอยากอาหาร ทำให้เกิดความอยากอาหารผิดปกติ แม้จะได้รับการกินอาหารเข้าไปแล้ว ส่งผลให้บุคคลที่มียีนอ้วนที่แปรผันไปเกิดโรคอ้วนได้มากกว่าคนทั่วไป มีการศึกษาถึงผลของการให้ลูกได้กินนมแม่พบว่าช่วยลดโอกาสที่เกิดโรคอ้วนในเด็กและในวัยผู้ใหญ่หลังจากที่ทารกเจริญเติบโตขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอ้วนในทารกที่มียีนอ้วนที่แปรผันไปด้วย1 ดังนั้น การดูแลให้อาหารของทารกในช่วงแรกของชีวิตคือ ให้ทารกได้มีโอกาสที่จะได้รับนมแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากให้ลูกได้รับนมแม่อย่างเดียวหกเดือนและหลังจากนั้น ได้รับนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมตามวัยจนกระทั่งครบสองปีหรือนานกว่านั้น จะเป็นประโยชน์แก่ทารกอย่างมากในเรื่องการป้องกันโรคอ้วน ไม่ว่าโรคอ้วนนั้นจะมีผลมาจากการกินหรือพันธุกรรมผิดปกติก็ตาม

เอกสารอ้างอิง

  1. Wu YY, Lye S, Briollais L. The role of early life growth development, the FTO gene and exclusive breastfeeding on child BMI trajectories. Int J Epidemiol 2017;46:1512-22.