จะให้การวินิจฉัยเต้านมอักเสบได้อย่างไร

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? เต้านมอักเสบเป็นภาวะแทรกซ้อนในระหว่างการให้นมบุตรที่พบได้บ่อยในช่วง 4-6 สัปดาห์หลังคลอด การให้การวินิจฉัยภาวะเต้านมอักเสบนั้นส่วนใหญ่ใช้อาการและอาการแสดงทางคลินิกที่ได้จากการซักประวัติและการตรวจร่างกาย สำหรับเกณฑ์การวินิจฉัยที่ใช้กันโดยทั่วไปได้แก่ การมีอาการเจ็บเต้านม เต้านมแดง หรือคลำได้ก้อน ซึ่งต้องมีอาการสองอย่างร่วมกับอาการครั่นเนื้อครั่นตัวคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ ?(ลักษณะอาการคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ อาการมีไข้ หนาวสั่น หรือปวดศีรษะ)1 การให้คำอธิบายและสร้างความเข้าใจกับมารดาและแนะนำอาการที่บ่งบอกถึงการเกิดภาวะเต้านมอักเสบจะช่วยให้มารดามีความรู้และตระหนักถึงอันตรายในการเกิดภาวะเต้านมอักเสบ เพราะหากไม่ได้รับการดูแลหรือรักษาอย่างถูกวิธี ภาวะเต้านมอักเสบอาจลุกลามไปจนเกิดฝีที่เต้านมได้ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ต้องได้รับการรักษาเป็นเวลานาน และอาจส่งผลเสียทำให้เกิดการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาที่เหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Khanal V, Scott JA, Lee AH, Binns CW. Incidence of Mastitis in the Neonatal Period in a Traditional Breastfeeding Society: Results of a Cohort Study. Breastfeed Med 2015;10:481-7.