รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ? ? ?ตามปกติแล้ว ใต้ลิ้นของคนเรา หากทำการกระดกลิ้นขึ้น จะมองเห็นแผ่นพังผืดที่ยึดติดตามความยาวของลิ้น แต่จะมีช่วงที่เว้นระยะไม่มีพังผืดยึดอยู่ช่วงหนึ่งถึงปลายลิ้น การที่มีช่วงที่เว้นระยะปราศจากพังผืดจะทำให้ลิ้นมีการเคลื่อนไหวได้โดยสามารถยื่นลิ้นไปทางด้านหน้าและด้านข้างได้สะดวก ซึ่งการที่สามารถยื่นลิ้นหรือแลบลิ้นออกไปทางด้านหน้าได้ จะช่วยในการดูดนมจากเต้านมแม่ของทารก เนื่องจากขณะที่ทารกดูดนมจากเต้า ลิ้นของทารกจะต้องยื่นออกมาอยู่ที่ลานนม โดยลิ้นจะทำหน้าที่ช่วยกดระบายน้ำนมจากท่อน้ำนมที่อยู่ใต้ลานนมและไล่น้ำนมให้ออกมาที่บริเวณหัวนม ดังนั้น หากมีพังผืดยึดยาวออกมาทางปลายลิ้น จะทำให้มีโอกาสที่จะจำกัดการเคลื่อนไหวของลิ้นและมีผลกระทบต่อการดูดนมจากเต้านมของแม่ได้ ?ซึ่งภาวะที่มีพังผืดยึดมากจนรบกวนการเคลื่อนไหวของลิ้นนี้เราเรียกว่ามี ?ภาวะลิ้นติด?
เอกสารอ้างอิง
- Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.
- Puapornpong P, Raungrongmorakot K, Mahasitthiwat V, Ketsuwan S. Comparisons of the latching on between newborns with tongue-tie and normal newborns. J Med Assoc Thai 2014;97:255-9.