?อีกประเด็นหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ พระราชบัญญัติควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ปี พ.ศ. 2560 ที่บุคลากรทางการแพทย์ควรทราบถึงเนื้อหาและรายละเอียด ได้แก่
- ไม่มีการโฆษณานมดัดแปลงสำหรับทารก นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่อง และอาหารตามวัยของทารกและเด็กเล็กในที่สาธารณะ
- ไม่มีการแจกตัวอย่างผลิตภัณฑ์แก่แม่
- ไม่ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ ในโรงพยาบาลและสถานบริการสุขภาพ
- ห้ามผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายหรือตัวแทน จัดหรือให้การสนับสนุนในการจัดการประชุม อบรม หรือสัมมนาด้านวิชาการ เกี่ยวกับอาหารสำหรับทารกหรืออาหารสำหรับเด็กเล็กแก่หน่วยบริการสาธารณสุข บุคลากรด้านสาธารณสุข หญิงตั้งครรภ์ หรือหญิงที่มีบุตรซึ่งเป็นทารกหรือเด็กเล็ก
? ? ? ? ? ? ? หากพิจารณาถึงปัญหาและอุปสรรคของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จากส่วนของบุคลากรทางในต่างประเทศ ตัวอย่างของสหรัฐอเมริกา พบว่า ปัญหาเกิดจาก
- ความรู้และการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของแพทย์ไม่เพียงพอในระบบบริการ
- แพทย์ขาดความมั่นใจการให้สุขศึกษาและการให้คำปรึกษาแก่หญิงตั้งครรภ์
- แพทย์มีทัศนคติและความรู้ที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เช่น เชื่อว่านมผสมเป็นโภชนาการที่สมบูรณ์แบบสำหรับทารก
? ? ? ? ? ?ดังนั้น ความท้าทายในการจัดการเรียนการสอน คือ ต้องทำให้นิสิต/นักศึกษาแพทย์มีความรู้และทักษะโดย
- สามารถอธิบายปัจจัยเชิงสังคมและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- มีโอกาสซักประวัติมารดา การให้อาหารทารกและประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในหอผู้ป่วยหรือทางคลินิก
- ตระหนักถึงคุณค่าการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และน้ำนมแม่ และความเสี่ยงของการได้รับนมแม่โดยไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
- ได้รับการฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางคลินิก
? ? ? ? ? ? การฝึกอบรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทางคลินิก ที่ควรมีการจัดการเรียนการสอน ได้แก่
- ค้นหาปัจจัยให้พ่อแม่ตัดสินใจเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- รายละเอียดเกี่ยวกับประวัติและการตรวจเต้านม
- เข้าใจผลกระทบการเจ็บครรภ์และวิธีการคลอด
- บอกผลกระทบของหัตถการและการให้ยาแก่มารดาระหว่างการคลอดและทันทีหลังคลอดต่อการสร้างและหลั่งน้ำนม
- กระตุ้นช่วยเหลือการให้นมแม่ทันทีหลังคลอด
- สังเกตการเอาลูกเข้าเต้าอย่างถูกต้องและการดูดนมแม่จากเต้าอย่างมีประสิทธิภาพ
- อธิบายวิธีการช่วยเหลือให้แม่ยังคงมีน้ำนมเพียง พอแม้ว่าแม่ลูกต้องแยกจากกัน
- ให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับคู่แม่ลูก เกี่ยวกับการให้ยามารดา การวางแผนครอบครัว
- อธิบายสาเหตุของปัญหาการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่พบบ่อย
- อธิบายแนวปฏิบัติการให้อาหารตามวัยที่ถูกต้องและเหมาะสม
? ? ? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ นักศึกษาแพทย์ควรมีความเข้าใจถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ด้วย ได้แก่ การผ่าตัดคลอด การให้นงดัดแปลงสำหรับทารก การแจกนมตัวอย่างสำหรับทารก กฎหมายเรื่องการลาพักหลังคลอด การให้เวลาพักในระหว่างการทำงานเพื่อให้นมทารกหรือบีบเก็บน้ำนม การจัดมุมนมแม่ การให้ความรู้แก่หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวในโรงเรียนพ่อแม่ บันไดสิบขั้นส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ป่วย และการบริการเชิงรุกในชุมชน ซึ่งต้องพยายามลดปัจจัยที่มีผลลบต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และส่งเสริมปัจจัยที่มีผลบวกต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ทำให้โอกาสที่มารดาจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จสูงขึ้น
ที่มาจาก การประชุมเรื่องความท้าทายในการเรียนการสอนเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สู่ความสำเร็จ ในการประชุมเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2560