รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เต้านมอักเสบหลังคลอดพบได้บ่อยในช่วงสองถึงสามสัปดาห์แรกหลังคลอด มีการศึกษาในเรื่องการใช้โปรไบโอติก (probiotic) ที่บรรจุ L. fermentum × 10⁹ CFU ขนาด 1 แคปซูลวันละหนึ่งครั้งเทียบกับการกินยาหลอกที่ลักษณะเหมือนกัน แล้วติดตามผลการเกิดอุบัติการณ์ของการเกิดเต้านมอักเสบในช่วง 16 สัปดาห์หลังคลอดพบว่า อุบัติการณ์ของเต้านมอักเสบที่พบในกลุ่มทดลองที่ได้รับยาหลอกลดลงร้อยละ 51 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก1,2 อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการกินโปรไบโอติกจะมีโอกาสที่จะลดความเสี่ยงของอุบัติการณ์การเกิดเต้านมอักเสบ แต่ความคุ้มค่าของการใช้โปรไบโอติกนั้นขึ้นอยู่กับความถี่ของอุบัติการณ์ของเต้านมอับเสบว่าพบบ่อยมากหรือไม่ และหากมารดาทราบและป้องกันปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงของการเกิดเต้านมอักเสบ เช่น การจัดท่าให้นมลูกที่เหมาะสมหรือปัจจัยเสี่ยงซึ่งจะลดการเจ็บหัวนมและการเกิดหัวนมแตกด้วยจะยิ่งลดและป้องกันการเกิดอุบัติการณ์ของเต้านมอักเสบได้ดีขึ้นอีก ดังนั้นความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ทางการแพทย์ยังต้องรอการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมต่อไป
เอกสารอ้างอิง
- Hurtado JA, Fonolla J. Response to Paricio-Talayero and Baeza re: “Oral Administration to Nursing Women of Lactobacillus fermentum CECT5716 Prevents Lactational Mastitis Development: A Randomized Controlled Trial”. Breastfeed Med 2018;13:454-6.
- Paricio-Talayero JM, Baeza C. Re: “Oral Administration to Nursing Women of Lactobacillus fermentum CECT5716 Prevents Lactational Mastitis Development: A Randomized Controlled Trial” by Hurtado et al. (Breastfeed Med 2017;12:202-209). Breastfeed Med 2018;13:453-4.