รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ความถี่ของการให้ลูกกระตุ้นดูดนมมีความสำคัญ โดยการให้นมบ่อยมากกว่า 8 ครั้งต่อวันจะทำให้ระดับโพรแลกตินที่เป็นฮอร์โมนที่สำคัญในการสร้างน้ำนมคงมีระดับที่สูงและเป็นผลดีต่อการสร้างน้ำนม1 มารดาที่ให้ลูกกระตุ้นดูดนมบ่อยจะสัมพันธ์กับการมีการถ่ายขี้เทาที่เร็วขึ้น และพบว่าระยะเวลาจากการสังเกตเห็นการดูดนมจากเต้านมข้างหนึ่งและน้ำนมจะไหลจากเต้านมอีกข้างหนึ่ง (let down reflex) จะสั้นลง นอกจากนี้ การให้ลูกกระตุ้นดูดนมบ่อยจะช่วยป้องกันภาวะตัวเหลือง2 โดยพบความสัมพันธ์ระหว่างการให้ลูกดูดนมบ่อยแปรผกผันกับภาวะตัวเหลืองของทารกแรกเกิดในระยะแรกหลังคลอดและปัญหาของเต้านม3 โดยเมื่อทารกอายุมากขึ้น ความห่างของการกินนมจะเพิ่มขึ้น4 สำหรับมารดาที่ให้นมห่างมากกว่า 3 ชั่วโมงก่อนการกลับจากโรงพยาบาลสัมพันธ์กับการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในเดือนที่ 2 หลังคลอด5
เอกสารอ้างอิง
- Chaves RG, Lamounier JA, Cesar CC. Factors associated with duration of breastfeeding. J Pediatr (Rio J) 2007;83:241-6.
- Ketsuwan S, Baiya N, Maelhacharoenporn K, Puapornpong P. The Association of Breastfeeding Practices with Neonatal Jaundice. J Med Assoc Thai 2017;100:255-61.
- Okechukwu AA, Okolo AA. Exclusive breastfeeding frequency during the first seven days of life in term neonates. Niger Postgrad Med J 2006;13:309-12.
- Saki A, Eshraghian MR, Tabesh H. Patterns of daily duration and frequency of breastfeeding among exclusively breastfed infants in Shiraz, Iran, a 6-month follow-up study using Bayesian generalized linear mixed models. Glob J Health Sci 2013;5:123-33.
- Plewma P. Prevalence and factors influencing exclusive breast-feeding in Rajavithi Hospital. J Med Assoc Thai 2013;96 Suppl 3:S94-9.