การใช้ยารักษาโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนระหว่างการให้นมบุตร

p45

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ คออักเสบ ทอนซิลอักเสบและกล่องเสียงอักเสบ ซึ่งการรักษาโดยทั่วไปรักษาตามอาการ สำหรับในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วยอาจจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะ ยาที่รักษาตามอาการ? ได้แก่ ยาลดไข้ สามารถใช้ยาพาราเซตามอลในการลดไข้ได้ ยาลดน้ำมูกที่ใช้บ่อย คือ ยา chlorpheniramine ยา loratadine และยา fexofenadine ยากลุ่มนี้ผ่านน้ำนมน้อย แต่ยา chlorpheniramine อาจมีฤทธิ์ทำให้ทารกง่วงหลับได้1 ยากลุ่ม antihistamine ออกฤทธิ์ทำให้ระดับฮอร์โมนโปรแลคตินต่ำลงได้ แต่ไม่ได้มีผลยับยั้งการกระตุ้นฮอร์โมนโปรแลคตินที่หลั่งจากการดูดนม2,3 ยาลดอาการคัดจมูกที่ใช้บ่อย คือ pseudoephedrine ขนาดยาของทารกสัมพัทธ์ของยา pseudoephedrine พบร้อยละ 2.2-6.7 ยานี้มีผลในการลดระดับฮอร์โมนโปรแลคตินและพบว่าอาจลดปริมาณน้ำนมได้ถึงร้อยละ 244 ยาละลายเสมหะที่ใช้บ่อย คือ ยา bromhexine และ N-Acetylcysteine ยาทั้งสองชนิดยังขาดข้อมูลการศึกษาในคน แต่มีศึกษาการใช้ bromhexine ในวัว และตรวจปริมาณของยาในน้ำนม พบว่ามีปริมาณยา bromhexine น้อย และมีความปลอดภัยในการรับประทาน5

??????????????? แนวทางการดูแลรักษา

??????????????? การเลือกใช้ยาในโรคระบบทางเดินหายใจส่วนบน จะใช้ยารักษาตามอาการ ยาพาราเซตามอล ยาปฏิชีวนะในกลุ่มเพนนิซิลิน และยา cephalosporin สามารถใช้ได้โดยปลอดภัย การใช้ยาลดน้ำมูกและยาลดอาการคัดจมูก ควรใช้ในปริมาณที่น้อยที่สุด หากจำเป็นเลือกใช้ยา loratadine หรือยา fexofenadine ก่อนเนื่องจากไม่ทำให้ทารกที่กินนมแม่ง่วงหลับ การใช้ยาลดน้ำมูกควบคู่กับยาลดอาการคัดจมูกร่วมกันอาจส่งผลในการลดปริมาณของน้ำนมได้ ดังนั้นควรใช้ด้วยความระมัดระวัง สำหรับยาละลายเสมหะเนื่องจากยังขาดข้อมูลการศึกษา การแนะนำการปฏิบัติตัวโดยให้มารดาดื่มน้ำมากๆ เพื่อให้เสมหะไม่เหนียวข้นก่อนการพิจารณาการใช้ยาน่าจะเหมาะสม

เอกสารอ้างอิง

  1. Ito S, Blajchman A, Stephenson M, Eliopoulos C, Koren G. Prospective follow-up of adverse reactions in breast-fed infants exposed to maternal medication. Am J Obstet Gynecol 1993;168:1393-9.
  2. Messinis IE, Souvatzoglou A, Fais N, Lolis D. Histamine H1 receptor participation in the control of prolactin secretion in postpartum. J Endocrinol Invest 1985;8:143-6.
  3. Pontiroli AE, De Castro e Silva E, Mazzoleni F, et al. The effect of histamine and H1 and H2 receptors on prolactin and luteinizing hormone release in humans: sex differences and the role of stress. J Clin Endocrinol Metab 1981;52:924-8.
  4. Aljazaf K, Hale TW, Ilett KF, et al. Pseudoephedrine: effects on milk production in women and estimation of infant exposure via breastmilk. Br J Clin Pharmacol 2003;56:18-24.
  5. Eichler VD, Kreuzer H. [Bromhexine residues in calves, pigs, and in the milk of cows]. Arzneimittelforschung 1975;25:615-22.