การใช้พื้นฐานความรู้เชิงทฤษฎีช่วยให้มารดามีความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

ในการเปลี่ยนพฤติกรรมนั้น กระบวนการที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจะต้องส่งผลต่อทัศนคติ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติ โดยมีหลายทฤษฎีที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ได้แก่ การใช้พื้นฐานความรู้เชิงทฤษฏี (theory-based educational intervention) คือ การสร้างให้เกิดพฤติกรรมโดยการเปลี่ยนแปลงทัศนคติจากการจัดการอบรมให้ความรู้หรือการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และทฤษฏีการวางแผนการกำหนดพฤติกรรม (theory of planned behavior) ซึ่งจะมีการกำหนดหรือควบคุมโดยมีการวางแผนให้เกิดพฤติกรรมตามที่ต้องการ มีการศึกษาพบว่า การใช้พื้นฐานความรู้เชิงทฤษฏีจะช่วยให้มารดามีความตั้งใจ มีความเชื่อมั่น และมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนสูงกว่าการใช้ทฤษฏีการวางแผนการกำหนดพฤติกรรม1 สิ่งนี้น่าจะสะท้อนว่า การรับรู้ความรู้และประโยชน์ของนมแม่นั้นมีความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดา ดังนั้น บุคลากรทางการแพทย์ควรจัดกระบวนการอบรมให้ความรู้แก่มารดา เพื่อช่วยให้มารดามีความเข้าใจในเรื่องนมแม่ มีความตั้งใจ และเชื่อมั่นว่าสามารถการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ ก็จะส่งผลให้มารดามีพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้น

เอกสารอ้างอิง

1.        Chipojola R, Chiu HY, Huda MH, Lin YM, Kuo SY. Effectiveness of theory-based educational interventions on breastfeeding self-efficacy and exclusive breastfeeding: A systematic review and meta-analysis. Int J Nurs Stud 2020;109:103675.