การโอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้อช่วยการพัฒนาสมอง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ? ? การให้มารดาโอบกอดทารกสัมผัสเนื้อแนบเนื้อช่วยในการพัฒนาสมองของทารกโดยการกระตุ้นสมองส่วน Amygdala และ Limbic ผ่าน prefontal-orbital pathway ซึ่งบทบาทของสมองในส่วน Amygdala และ Limbic จะทำหน้าที่การเรียนรู้ทางด้านอารมณ์ ควบคุมความจำ และระบบประสาทอัตโนมัติ โดยสมองส่วน Amygdala และ Limbic กว่าจะมีการพัฒนาการจนสมบูรณ์จะเกิดขึ้นช่วงสองเดือนแรกหลังการเกิด การสัมผัสผิวของทารกเนื้อแนบเนื้อกับมารดาจะมีสัญญาณประสาทที่จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการของสมองส่วนนี้1 ดังนั้น การกระตุ้นด้วยการสัมผัสผิวจึงมีความสำคัญในการพัฒนาความสมบูรณ์ของสมองในช่วงแรก ๆ หลังการเกิด นอกจากนี้ ความผูกพันระหว่างมารดาและทารกยังมีส่วนในการกระตุ้นการเชื่อมต่อและระบบควบคุมการทำงานของระบบประสาทด้วย ซึ่งหากศึกษาถึงประวัติศาสตร์ของชนชาติต่าง ๆ ส่วนใหญ่มักจะมีกระบวนการโอบอุ้มทารกให้ทารกได้สัมผัสผิวกับมารดาตั้งแต่แรกคลอดจนถึง 1-2 ปีขึ้นอยู่กับแต่ละวัฒนธรรม ประโยชน์ในการพัฒนาสมองอาจเป็นคำอธิบายในการสั่งสอนการดูแลทารกที่บอกต่อกันมาตั้งแต่โบราณก็เป็นได้

เอกสารอ้างอิง

  1. Ovtscharoff W, Jr., Braun K. Maternal separation and social isolation modulate the postnatal development of synaptic composition in the infralimbic cortex of Octodon degus. Neuroscience 2001;104:33-40.