การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในทารกที่ติดเชื้อซิกาแต่กำเนิด

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

การติดเชื้อซิกาได้มีการระบาดมาช่วงหนึ่งแล้ว ซึ่งจะเริ่มจากทวีปแถบแอฟริกาและมีการแพร่ระบาดมาในหลายประเทศ โดยหากมีการติดเชื้อในระหว่างการตั้งครรภ์สามารถเกิดการติดเชื้อจากมารดาไปสู่ทารกได้ ซึ่งทำให้เกิดความผิดปกติในทารก (congenital Zika syndrome) ซึ่งจะพบทารกมีศีรษะเล็ก (microcephaly) ทารกมีความยากลำบากในการดูดหรือการกลืนนม และพบทารกมีการสำรอกนมจากความผิดปกติของหูรูดกระเพาะที่ต่อกับหลอดอาหาร (gastroesophageal reflux)  ดังนั้นจึงส่งผลต่อการกินนม โดยมีการศึกษาพบว่าทารกที่ติดเชื้อซิกาแต่กำเนิดพบมีภาวะศีรษะเล็กรุนแรงร้อยละ 59.7 พบปัญหาการดูดลำบากร้อยละ 27.8 พบปัญหาการกลืนลำบากร้อยละ 48.0 พบปัญหาการสำรอกนมจากความผิดปกติของหูรูดกระเพาะที่ต่อกับหลอดอาหารร้อยละ 29.2  อย่างไรก็ตาม ทารกที่ติดเชื้อซิกาแต่กำเนิดส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 89.9 สามารถกินนมแม่ได้ตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด1 บุคลากรทางการแพทย์จึงควรให้คำปรึกษาในมารดาที่มีการติดเชื้อซิกาอย่างเหมาะสม และช่วยเหลือทารกในกรณีที่พบปัญหาในการดูด กลืน หรือสำรอกนมให้ทารกสามารถประสบความสำเร็จในการกินนมแม่

เอกสารอ้างอิง

1.        Fabia Cabral Cavalcanti A, Aguiar YPC, Oliveira Melo AS, Leite Cavalcanti A, D’Avila S. Breastfeeding Behavior in Brazilian Children with Congenital Zika Syndrome. Int J Dent 2020;2020:1078250.