การลาพักของมารดาหลังคลอด

images123

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

? ? ? ? ? ?หลังการคลอดในมารดาในแต่ละกลุ่มอาชีพจะมีสิทธิในการลาคลอดบุตรได้ดังนี้

-ข้ารับราชการหรือรัฐวิสาหกิจสามารถลาคลอดบุตรได้ 90 วัน โดยการลาจะลาวันที่คลอดบุตร ก่อนหรือหลังคลอดบุตรก็ได้ แต่เมื่อรวมวันลาแล้วต้องไม่เกินระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะนับรวมวันหยุดราชการด้วย ในระหว่างการลาจะได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน

-พนักงานของรัฐสามารถลาคลอดบุตรได้ 45 วันโดยได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน และหากลาต่ออีก 45 วันสามารถขอรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากกองทุนประกันสังคมได้ร้อยละ 50

-ลูกจ้างมีสิทธิที่จะลาคลอดบุตรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 41บัญญัติว่า ?ให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อการคลอดบุตรครรภ์หนึ่งไม่เกิน?90?วัน การลาตามวรรคหนึ่ง?ให้นับวันหยุดที่มีในระหว่างลาด้วย? โดยในการจ่ายค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ?มาตรา?59?กำหนดไว้ว่า??ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา?แต่ไม่เกินสี่สิบห้าวัน??หากในวันลาที่เหลือหากลูกจ้างต้องการลาหยุดงานต่อไป?ลูกจ้างมีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อคลอดบุตรในอัตราร้อยละ?50?ของค่าจ้างจนครบการลาคลอด?90?วันได้ นั่นคือ สามารถลาคลอดบุตรได้ 45 วันโดยได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน และหากลาต่ออีก 45 วันลูกจ้างสามารถขอรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรจากกองทุนประกันสังคมได้ครึ่งหนึ่งของเงินเดือนคล้ายกับพนักงานของรัฐ

-อาชีพอิสระหรือแม่บ้าน มารดาที่มีอาชีพอิสระที่สามารถจะเลือกเวลาการทำงานได้ จะมีโอกาสที่จะจัดสรรเวลาการทำงานให้เหมาะสมกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งความยืดหยุ่นของตารางเวลาการทำงานจะมีมากกว่า สำหรับแม่บ้านอาจต้องมีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับภาระงานในบ้าน การดูแลเรื่องอาหาร ความสะอาด การซักรีดเสื้อผ้า และอาจร่วมกับการต้องดูแลบุตรคนก่อนในกรณีที่มารดาลูกอยู่ในช่วงระยะใกล้กัน กิจกรรมเหล่านี้ หากเป็นภาระงานที่มากเกินไป? มารดาจำเป็นต้องปรึกษากับสามีเพื่อหาความช่วยเหลือ โดยอาจใช้วิธีการจ้างเหมาในงานบางอย่าง เพื่อลดการใช้เวลากับกิจกรรมที่เป็นงานบ้าน และมีเวลาที่จะใช้สำหรับการดูแลลูกให้ได้กินนมแม่

การที่มารดาได้ลาพักหลังคลอด มารดาจะมีโอกาสได้อยู่ดูแลทารกและสามารถให้นมทารกได้อย่างต่อเนื่อง มารดาที่ลาพักหลังคลอดได้นานจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า1-4 มารดาที่กลับไปทำงานเต็มเวลาเร็วจะลดระยะเวลาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลง5 ในประเทศยุโรปบางประเทศที่มีสวัสดิการสังคมที่ดีและเห็นความสำคัญในการลาพักหลังคลอดบุตรเพื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จะมีกฎหมายที่กำหนดให้ลาหลังคลอดได้นาน โดยมีเงินเดือนให้ระหว่างการลา ตัวอย่างเช่น ประเทศสโลวาเนียให้ลาคลอดได้หนึ่งปีโดยได้รับเงินเดือนเต็มจำนวน ประเทศสวีเดนและนอร์เวย์จะเปิดโอกาสให้มารดาลาพักหลังคลอดถึงหนึ่งปีครึ่งหรือมากกว่านั้นเพื่อเลี้ยงดูทารกโดยที่มารดายังได้รับเงินเดือนโดยรวมราวร้อยละ 77-86 ต่อปี สำหรับในทวีปเอเชีย ประเทศเวียดนามออกกฎหมายให้สตรีลาพักหลังคลอดได้ถึงหกเดือน ซึ่งนโยบายที่ส่งเสริมให้มารดาได้อยู่ดูแลลูกจนกระทั่งครบหกเดือนน่าจะช่วยให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือนให้สูงขึ้นได้

หนังสืออ้างอิง

  1. Ogbuanu C, Glover S, Probst J, Liu J, Hussey J. The effect of maternity leave length and time of return to work on breastfeeding. Pediatrics 2011;127:e1414-27.
  2. Skafida V. Juggling work and motherhood: the impact of employment and maternity leave on breastfeeding duration: a survival analysis on Growing Up in Scotland data. Matern Child Health J 2012;16:519-27.
  3. Baker M, Milligan K. Maternal employment, breastfeeding, and health: evidence from maternity leave mandates. J Health Econ 2008;27:871-87.
  4. Cooklin AR, Rowe HJ, Fisher JR. Paid parental leave supports breastfeeding and mother-infant relationship: a prospective investigation of maternal postpartum employment. Aust N Z J Public Health 2012;36:249-56.
  5. Mirkovic KR, Perrine CG, Scanlon KS, Grummer-Strawn LM. Maternity Leave Duration and Full-time/Part-time Work Status Are Associated with US Mothers’ Ability to Meet Breastfeeding Intentions. J Hum Lact 2014;30:416-9.