การรักษาหัวนมแตกและเจ็บระหว่างการให้นมลูกด้วยการใช้น้ำนมแม่

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การเจ็บหัวนมเป็นอาการที่พบได้บ่อยในระยะหลังคลอดในสัปดาห์แรก ซึ่งสาเหตุหลักที่สำคัญที่พบได้บ่อยที่สุดคือ การจัดท่าให้นมแม่ที่ไม่เหมาะสม โดยเริ่มแรกจะทำให้เกิดอาการเจ็บหัวนมและหากไม่ได้รับการดูแล แนะนำหรือการแก้ไขที่เหมาะสม จากการเจ็บหัวนมก็จะเกิดหัวนมแตก และเมื่อหัวนมแตกเป็นแผล โอกาสที่เชื้อโรคจากผิวหนังจะผ่านเข้าสู่แผลที่หัวนมจนเกิดภาวะเต้านมอักเสบและฝีที่เต้านมก็เป็นสิ่งที่เกิดตามมาได้ ดังนั้น การดูแลที่ดีที่สุดคือการแก้ปัญหาการเจ็บหัวนมให้เหมาะสม และหากเกิดหัวนมแตก การดูแลและรักษาหัวนมแตกตั้งแต่ระยะแรกอย่างถูกต้องก็จะเป็นการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ มีการศึกษาเปรียบเทียบวิธีการรักษาหัวนมแตกหรือบาดเจ็บเป็นแผลด้วยวิธีการใช้การทาหัวนมด้วยนมแม่และให้มารดาใส่ประทุมแก้วเทียบกับการทาหัวนมด้วยลาโนลิน (lanolin) พบว่าการใช้การทาหัวนมด้วยนมแม่ร่วมกับการใส่ประทุมแก้วช่วยรักษาอาการหัวนมแตกหรือบาดเจ็บได้ดีกว่าการทาหัวนมด้วยลาโนลิน1 ดังนั้น จะให้ว่า นมแม่นอกจากมีภูมิคุ้มกันให้กับทารกแล้ว ยังสามารถใช้เป็นยารักษาหัวนมแตกหรือบาดเจ็บให้แก่มารดาได้เป็นอย่างดีด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Vieira F, Mota D, Castral TC, Guimaraes JV, Salge AKM, Bachion MM. Effects of Anhydrous Lanolin versus Breast Milk Combined with a Breast Shell for the Treatment of Nipple Trauma and Pain During Breastfeeding: A Randomized Clinical Trial. J Midwifery Womens Health 2017.