การติดตามและช่วยเหลือมารดาหลังกลับบ้าน(ตอนที่ 2)

pump1

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

บุคลากรทางการแพทย์ในชุมชนและการให้บริการปฐมภูมิ

-เมื่อใดก็ตามที่บุคลากรทางการแพทย์ได้พบกับมารดาและทารก ควรให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และการดูแลทารก โดยหากไม่สามารถจัดการได้เอง อาจส่งต่อให้ผู้ช่วยเหลือในชุมชนหรือผู้เชี่ยวชาญช่วยดูแลต่อได้

-บุคลากรทางการแพทย์ในชุมชนจะใกล้ชิดกับมารดาและครอบครัวมากกว่าบุคลากรทางการแพทย์ที่โรงพยาบาล และอาจมีเวลาที่จะให้การดูแลมารดาและครอบครัวมากกว่า จึงควรมีการอบรมและสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์ในชุมชนได้มีความรู้ ทักษะในการช่วยเหลือการให้นมบุตรและการดูแลทารกด้วย

-ศูนย์สุขภาพชุมชนอาจจะตั้ง ?คลินิกนมแม่? สำหรับช่วยให้มารดาสามารถเข้าถึงการบริการง่ายกว่าการรอนัดขอโรงพยาบาล โดยจะจัดรวมกลุ่มมารดาเพื่อแบ่งเป็นประสบการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในลักษณะ ?กลุ่มนมแม่? หรือ ?อาสาสมัครนมแม่? เพื่อช่วยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในชุมชน

-บุคลากรทางการแพทย์อาจจะร่วมกับชุมชนก่อตั้ง ?ชุมชนนมแม่? ซึ่งเป็นชุมชนตัวอย่างในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อยหกเดือน โดยหลังจากนั้นจึงมีการเริ่มอาหารเสริม และคงให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต่อไปจนครบสองปีหรือนานกว่านั้น

หนังสืออ้างอิง

  1. WHO/UNICEF. BFHI Section 3: Breastfeeding promotion and support in a baby-friendly hospital ? 20-hour course. ?2009