การตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มีความเสี่ยงสูงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

BUSIN198

รศ.นพ. ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? ในสตรีที่ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ส่วนใหญ่สตรีจะมีความผิดปกติของการตกไข่หรือการยากลำยากในการปฏิสนธิของไข่กับอสุจิ และในกระบวนการช่วยเหลือมักมีการกระตุ้นไข่ เก็บไข่ ฉีดน้ำอสุจิ หรือการช่วยปฏิสนธิในหลอดทดลอง และใส่เซลสืบพันธุ์หรือตัวอ่อนเข้าไปที่ท่อนำไข่หรือในโพรงมดลูก ในขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้ มักสร้างความวิตกกังวลหรือความเครียดให้กับมารดาและครอบครัวได้ นอกจากนี้ในมารดาเหล่านี้ยังมีโอกาสที่จะพบโรคประจำตัวที่มีร่วมกับการมีบุตรยาก และมารดามักมีอายุที่มาก ทำให้มีความเสี่ยงที่จะคลอดโดยการผ่าตัดคลอดสูงกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาที่พบว่ามารดาที่ตั้งครรภ์มีความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในระยะแรกสูงกว่ามารดาที่มีการตั้งครรภ์เองถึง 65.3 เท่า (95% confidence interval: 1.5-2889.3)1 ดังนั้น หากบุคลากรต้องดูแลมารดาที่ตั้งครรภ์โดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ นอกจากต้องระมัดระวังในความเสี่ยงจากการมีโรคประจำตัวต่างๆ แล้ว ยังต้องเอาใจใส่ดูแลและติดตามเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างใกล้ชิด โดยควรมีการนัดติดตามในสัปดาห์แรกเพื่อช่วยแก้ปัญหาที่พบบ่อย ลดความวิตกกังวลและสร้างความมั่นใจซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

  1. Cromi A, Serati M, Candeloro I, et al. Assisted reproductive technology and breastfeeding outcomes: a case-control study. Fertil Steril 2015;103:89-94.