การกินนมแม่ช่วยลดการกำเริบของหอบหืด

                รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

                  โรคหอบหืดเป็นโรคที่เกิดจากการตอบสนองต่อการกระตุ้นหรือสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการหดตัวหรือตีบตันของระบบทางเดินหายใจ มีอาการของเยื่อบุผนังหลอดลมอักเสบ การที่มีการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อบริเวณหลอดลม ทำให้ผู้ป่วยหายใจลำบาก มีเสียงวี้ด และทำให้อากาศเข้าสู่ปอดน้อยลง ผู้ป่วยรู้สึกหายใจไม่อิ่ม มีอาการไอ และอาจมีอาการเจ็บหน้าอก ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคหอบหืดมีทั้งปัจจัยทางด้านพันธุกรรมและปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัจจัยเรื่องการกินนมแม่ของทารกก็เป็นปัจจัยอย่างหนึ่งที่จะช่วยลดอาการของหอบหืดได้ โดยมีการศึกษาพบทารกที่กินนมแม่จะลดความเสี่ยงของการกำเริบของหอบหืดลง 0.78 เท่าในเด็กที่เคยเป็นหอบหืด (95%CI 0.74-0.81) และสำหรับในเด็กที่เป็นหอบหืดจะลดอาการหอบหืดลง 0.76 เท่า (95%CI 0.67-0.86) นอกจากนี้ยังลดอาการหลอดลมตีบลง 0.81 เท่าในเด็กที่ป่วยเกี่ยวกับอาการหลอดลมตีบ (95%CI 0.76-0.87) ด้วย1

เอกสารอ้างอิง

  1. Dogaru CM, Nyffenegger D, Pescatore AM, Spycher BD, Kuehni CE. Breastfeeding and childhood asthma: systematic review and meta-analysis. Am J Epidemiol 2014;179:1153-67.