คลังเก็บป้ายกำกับ: ไม่ให้สารอาหารอื่นนอกจากนมแม่ หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

10 ขั้นตอนสู่ความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ (ตอนที่ 3)

obgyn

เขียนโดย รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

  • แสดงให้มารดารู้วิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่และวิธีการดูแลให้มีปริมาณน้ำนมเพียงพอหากมีความจำเป็นต้องแยกจากทารก????????? การสอนเรื่องวิธีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ต้องเริ่มจากการสอนการเข้าเต้า โดยสอนเรื่องการเข้าเต้าเริ่มตั้งแต่ สังเกตลักษณะความพร้อมของทารกในการดูดนม ได้แก่ การจ้องมอง การตื่นตัว การตอบสนองต่อการกระตุ้น การดูด การนำมือหรือนิ้วเข้าปาก ลักษณะการส่งเสียงและการร้อง การตอบสนองต่อการกระตุ้นจากเต้านมของทารกโดยการอ้าปากกว้าง ลิ้นอยู่ในลักษณะรูปถ้วย และวางอยู่บริเวณเหงือกด้านล่าง ทารกจะอมหัวนมและส่วนของลานนมยาว 2 เซนติเมตรเข้าไปในปาก จากนั้นดูด ซึ่งจะดูดและหยุดสลับเป็นจังหวะต่อเนื่องกัน ได้ยินเสียงการกลืน สังเกตเห็นนมในปากทารก ทารกอาจจะปลิ้นน้ำนมออกมาขณะเรอ มีการเปลี่ยนแปลงจังหวะการดูดจาก 2 ครั้งต่อวินาทีเป็น 1 ครั้งต่อวินาที เมื่อทารกกินนมอิ่มแล้วจะปล่อยเต้านมออกมาเอง ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น หน้า แขนและมือผ่อนคลาย โดยอาจจะหลับ การจัดท่าทารกและแนวการวางตัวของทารกขณะเข้าเต้า ศีรษะทารกและลำตัวอยู่ระดับเต้านม และอยู่แนวเดียวกับลำตัว ไม่หันไปทางด้านข้าง ก้มหรือเงยจนเกินไป แนวการวางตัวของทารกที่ถูกต้องจะอยู่ในแนวของเส้นสมมุติจากหู ไปไหล่และขอบกระดูกอุ้งเชิงกราน (iliac crest) เมื่อมารดาเข้าเต้าได้อย่างเหมาะสม จะกระตุ้นการดูดนมได้ดี ไม่เจ็บหัวนมหรือเจ็บเต้านมเพียงเล็กน้อยและดีขึ้นภายในหนึ่งสัปดาห์ แต่หากการเข้าเต้าและการดูดไม่เหมาะสมอาจส่งผลต่อภาวะแทรกซ้อนทำให้เกิดหัวนมแตก เต้านมอักเสบและเป็นหนองได้ กรณีที่มีความจำเป็นของมารดาที่ต้องกลับไปทำงาน การเรียนรู้เรื่องวิธีการเก็บนมแม่จำเป็น การเก็บนมแม่จากการบีบนมจากเต้านมจะได้ผลในช่วงแรก แต่หากเก็บต่อเนื่องในระยะนานการเก็บด้วยเครื่องปั๊มนมไฟฟ้าจะมีประสิทธิภาพกว่า1
  • ไม่ให้สารอาหารอื่นนอกจากนมแม่ หากไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สำหรับการให้สารอาหารอื่นเสริม1 แบ่งเป็น

-ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ที่ชัดเจน (absolute medical indication) สำหรับการให้สารอาหารอื่นเสริมระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ มารดาและทารกแยกจากกัน มารดาเจ็บป่วยรุนแรง ความผิดปกติของทารกในการเมตาบอลิซึม (inborn error of metabolism) ทารกไม่สามารถจะดูดนมจากเต้านมได้เนื่องจากความเจ็บป่วยหรือความพิการ และการที่มารดาได้รับยาบางชนิดที่เป็นข้อห้ามในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

-ข้อบ่งชี้ทางการแพทย์สัมพัทธ์ (relative medical indication)สำหรับการให้สารอาหารอื่นเสริมระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ การมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่ไม่มีอาการ ทารกมีภาวะขาดน้ำที่ไม่ดีขึ้นจากการให้นมแม่ น้ำหนักทารกลดลงร้อยละ 8-10 ร่วมกับมีการสร้างน้ำนมช้าเมื่อประเมินที่ 120 ชั่วโมงหลังคลอด การถ่ายอุจจาระน้อยเมื่อประเมินที่ 120 ชั่วโมงหลังคลอด น้ำนมไหลน้อย ภาวะตัวเหลืองของทารกหลังคลอดจากการขาดสารอาหารหรือจากนมแม่ที่ตรวจค่าบิลลิรูบิน (bilirubin) เกิน 18 มีความจำเป็นที่ต้องได้รับสารอาหารแมคโคร (macronutrient) มีประวัติการผ่าตัดเต้านมที่ทำให้มีผลต่อการลำเลียงน้ำนมจากเต้านมสู่หัวนมแม่ และการเจ็บปวดรุนแรงระหว่างให้นมแม่

???????? สำหรับปัญหาที่พบบ่อย แต่เป็นเหตุผลที่ไม่จำเป็นต้องให้สารอาหารอื่นเสริมระหว่างการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ ทารกมีอาการง่วงในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรกโดยมีน้ำหนักลดน้อยกว่าร้อยละ 7 ภาวะตัวเหลืองของทารกหลังคลอด 72 ชั่วโมงที่มีค่าบิลลิรูบินน้อยกว่า 18 ร่วมกับน้ำหนักลดน้อยกว่าร้อยละ 7 โดยที่ทารกยังกินได้และถ่ายปกติ ทารกหงุดหงิดในตอนกลางคืนหรือมารดาให้นมแม่เป็นเวลาหลายชั่วโมง และมาดาเหนื่อยหรือง่วงนอน

หนังสืออ้างอิง

1.??????????? Holmes AV. Establishing successful breastfeeding in the newborn period. Pediatr Clin North Am 2013;60:147-68.