รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ธรรมชาติของหัวนมจะเป็นอวัยวะที่มีความไวต่อการสัมผัสและความรู้สึกอยู่แล้ว ดังนั้นในมารดาครรภ์แรกเมื่อให้ลูกกินนมใหม่ๆ จะมีอาการเจ็บหัวนมได้ เนื่องจากการเสียดสีจากการดูดนมของลูก อย่างไรก็ตาม หากมารดาจัดท่าให้นมได้เหมาะสม อาการเจ็บหัวนมมักจะเป็นช่วงแรกของการให้นม จากนั้นจะดีขึ้น เนื่องจากร่างกายของมารดามีกลไกการปรับตัวมีการหลั่งไขมันจากต่อมไขมันบริเวณลานนมและน้ำนมของมารดาเองที่ช่วยเคลือบหัวนมและลานนม ลดแรงเสียดทาน ทำให้มารดาหายเจ็บเต้านม ซึ่งอาการเจ็บหัวนมที่จะเป็นปัญหาที่ทำให้มารดาหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควร มักเป็นการเจ็บหัวนมที่ต่อเนื่องนานเกินหนึ่งสัปดาห์ และเป็นมากกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนครั้งที่ให้นม ซึ่งสาเหตุหลักที่พบ ได้แก่ การเข้าเต้าที่ไม่เหมาะสม การที่ทารกมีภาวะลิ้นติด หรือการที่น้ำนมมารดาไหลเร็วเกินไป1 ดังนั้น หากมีลักษณะการเจ็บหัวนมที่มีนัยสำคัญ ควรหาสาเหตุเพื่อการแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้แก่ การอักเสบเต้านม หรือฝีที่เต้านมที่เป็นอันตรายและต้องการการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด
เอกสารอ้างอิง
- Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.