รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? ในมารดาที่ไม่สามารถให้ลูกกินนมแม่ได้ บางคนอาจรู้สึกผิดและรู้สึกด้อยค่า โดยหากมารดามีบุคลิกภาพที่เสี่ยงต่อการที่จะเกิดโรคซึมเศร้า สิ่งนี้อาจเป็นตัวกระตุ้นให้มารดาเกิดอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้ ดังนั้น หลังคลอดมารดาควรได้รับการเอาใจใส่ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจเป็นอย่างมาก การให้ความเข้าใจของสามีและครอบครัวจึงมีความสำคัญ
? ? ? ? ? ? ?การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยลดอาการซึมเศร้า เนื่องจากผลของฮอร์โมนโดยเฉพาะออกซิโตซินที่เป็นฮอร์โมนแห่งความรักช่วยลดการเกิดอาการซึมเศร้า ในทางกลับกันมารดาที่มีโรคซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนระยะเวลาที่แนะนำ โดยมีการศึกษาพบว่า มารดาที่มีโรคซึมเศร้าจะมีความเสี่ยงที่จะหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ประมาณร้อยละ 20 ที่สามเดือนหลังคลอดเมื่อเทียบกับมารดาที่ไม่มีภาวะนี้1 ดังนั้น โรคหรืออาการซึมเศร้าจึงอาจเป็นทั้งความเสี่ยงต่อการหยุดนมแม่และการไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อาจเป็นตัวกระตุ้นของอาการของโรคซึมเศร้าได้ ซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรเข้าใจและใส่ใจในมารดาที่มีบุคลิกภาพที่เอื้อต่อการเกิดอาการซึมเศร้า เพื่อการวางแผนการติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด
เอกสารอ้างอิง
- Wouk K, Stuebe AM, Meltzer-Brody S. Postpartum Mental Health and Breastfeeding Practices: An Analysis Using the 2010-2011 Pregnancy Risk Assessment Monitoring System. Matern Child Health J 2017;21:636-47.