คลังเก็บป้ายกำกับ: โภชนการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร 1

โภชนการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร2

รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ

? ? ? ? ? ?อย่างไรก็ตาม มีสารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่บางชนิดที่ควรมีข้อมูลของประเทศไทย เพื่อให้ข้อแนะนำว่า ควรมีการเสริมสารอาหารเหล่านี้ในระหว่่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรหรือไม่ ได้แก่

? ? ? ? ? ? ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันที่สำคัญที่ช่วยในการเจริญเติบโตของสมอง ในสหรัฐอเมริกามีข้อแนะนำว่าสตรีที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ควรได้รับการเสริมดีเอชเอ โดยมักพบในอาหารจำพวกปลา มีการแนะนำชนิดของปลาและปริมาณที่เหมาะสมที่ควรเลือกรับประทานในแต่ละวัน

? ? ? ? ? แคลเซียม แม้ว่าในระยะตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร ความต้องการแคลเซียมจะไม่เพิ่มขึ้น แต่ความต้องการแคลเซียมในแต่ละวันของสตรี ส่วนใหญ่จะรับประทานไม่ครบตามความต้องการ พิจารณาอาหารที่ให้ปริมาณที่ให้แคลเซียมใกล้เคียง นม 1 แก้ว (มีแคลเซียม 226 มิลลิกรัม) ได้แก่

  • โยเกิร์ต รสธรรมชาติ 1 ถ้วย (มีแคลเซียม = 240 มก.)
  • นมเปรี้ยวพร้อมดื่ม 1 กล่อง (มีแคลเซียม = 108 มก.) ต้องรับประทาน 2 กล่อง
  • นมถั่วเหลือง สูตรธรรมดา (มีนมผสม) 1 กล่อง (มีแคลเซียม = 60 มก.) ต้องรับประทาน 4 กล่อง
  • น้ำเต้าหู้ 1 แก้ว (มีแคลเซียม = 8 มก.) ต้องรับประทาน 25 แก้ว
  • เต้าหู้ขาวหลอด ? หลอด (มีแคลเซียม = 59 มก.) ต้องรับประทาน 2 หลอด
  • เต้าหู้ไข่หลอด ? หลอด (มีแคลเซียม = 12 มก.) ต้องรับประทาน 10 หลอด
  • ผักคะน้าผัด ? ถ้วยตวง (มีแคลเซียม = 71) ต้องรับประทาน 1? ถ้วยตวง
  • ผักตำลึงต้ม ? ถ้วยตวง (มีแคลเซียม = 31) ต้องรับประทาน 3? ถ้วยตวง
  • งาดำคั่ว 1 ช้อนชา (มีแคลเซียม = 44 มก.) ต้องรับประทาน 5 ช้อนชา

? ? ? ? ? ? ?สตรีจึงควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อให้เพียงพอในระยะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

? ? ? ? ? ?วิตามินดี มีความสำคัญต่อกระดูกและภูมิคุ้มกันต่อต้านโรค ในสหรัฐอเมริกามีข้อแนะนำการเสริมวิตามินดีในมารดาที่ตั้งครรภ์ และทารกแรกเกิดด้วย ในประเทศไทยพบสตรีในกรุงเทพมหานครมีภาวะขาดวิตามินดีร้อยละ 24-75 โดยภาพรวมของประเทศพบภาวะขาดวิตามินดี 9-57

? ? ? ? ? ? ? ? นอกจากนี้ มารดาควรหลีกเลี่ยงการรับประทานคาเฟอีน ที่พบในกาแฟ ชา น้ำอัดลมโคลา ช็อคโกแลต เครื่องดื่มบำรุงกำลัง คาเฟอีนผ่านจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ และน้ำนมแม่ได้ จาก Meta-analysis พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่บริโภคคาเฟอีน >300 มก./วัน (กาแฟวันละ 3 แก้ว) มีความเสี่ยงต่อการแท้งเพิ่มขึ้น มีความเสี่ยงต่อการมีลูก low birth weight เพิ่มขึ้นเป็น 1.3-2.1 เท่า อายุของยาครึ่งชีวิตหรือ Half-life ในทารก (newborn: 96 hr, 3-5 month-old baby: 14 hr) ยาวกว่าผู้ใหญ่ (5 hr) มาก ทำให้กำจัดคาเฟอีนได้ช้าและเกิดผลเสียแก่ทารก แม่ที่ให้นมลูกควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน หรือดื่มเพียงเล็กน้อย เช่น รวมกันไม่เกิน 200 มก./วัน (กาแฟประมาณ 2 แก้ว) ถ้ามากเกินไป ลูกจะมีอาการกระวนกระวาย สั่น นอนไม่หลับ

? ? ? ? ? ? สรุป โภชนาการของแม่ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมลูกสำคัญมากต่อสุขภาพแม่และทารก แม่ต้องการอาหารที่มีพลังงานและโปรตีนเพิ่มขึ้นอย่างพอเหมาะ ต้องการวิตามินและแร่ธาตุหลายชนิดเพิ่มขึ้น และต้องเสริมยาเม็ดธาตุเหล็ก ไอโอดีน กรดโฟลิค อาหารที่มารดารับประทานต้องสะอาดและปลอดภัย ไม่แนะนำให้แม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมลูกงดอาหารบางประเภทเพื่อป้องกันโรคภูมิแพ้ในลูก และควรมีการทบทวนอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับภาวะโภชนาการของวิตามินดีในทารกเพื่อหาแนวทางป้องกันการขาดวิตามินดี

ที่มาจาก การประชุมเรื่องโภชนการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร ในการประชุมเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2560

 

 

 

โภชนการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร 1

รศ.พญ.อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ

????????? ความสำคัญของภาวะโภชนาการของสตรีตั้งครรภ์ที่มีผลทั้งสุขภาพมารดาและทารก โดยในสตรีตั้งครรภ์ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น โปรตีน แร่ธาตุและวิตามินบางชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการขาด พลังงานต้องการเพิ่มขึ้น 475 กิโลแคลอรีต่อวัน โปรตีนต้องการเพิ่มมากขึ้นในไตรมาสที่หนึ่ง 0.5 กรัมต่อวัน ไตรมาสที่สอง 7.7 กรัมต่อวัน และไตรมาสที่สาม 24.9 กรัมต่อวัน วิตามินเอต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 200 RE โฟเลทต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 200 ไมโครกรัม เหล็กต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 60 มิลลิกรัม ไอโอดีนต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 50 ไมโครกรัม

? ? ? ? ? ?สตรีที่ให้นมบุตรต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น 500 กิโลแคลอรีต่อวันในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด และต้องการ 460 กิโลแคลอรีต่อวันในเดือนที่หกถึงเดือนที่สิบสองหลังคลอด โปรตีนเพิ่มขึ้นในหกเดือนแรกหลังคลอดราว 14-16 กรัมต่อวัน และในช่วงหกเดือนถึงสิบสองเดือนหลังคลอด 10 กรัมต่อวัน วิตามินเอต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 375 RE โฟเลทต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 100 ไมโครกรัม เหล็กต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 15 มิลลิกรัม ไอโอดีนต้องการเพิ่มขึ้นวันละ 50 ไมโครกรัม

? ? ? ? ? ?กระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายในการเสริมไอโอดีนให้แก่สตรีตั้งครรภ์และให้นมบุตร ตั้งแต่ ปี 2553 โดยจัดให้หญิงตั้งครรภ์ทุกคนได้รับยาเม็ดเสริมไอโอดีนฟรี จนถึงระยะให้นมบุตรถึง 6 เดือน ยาที่ให้องค์การเภสัชกรรมผลิตยาเม็ดวิตามินและเกลือแร่สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตร ได้แก่ Triferdine 150 ประกอบด้วย ไอโอดีน 150 ไมโครกรัม ธาตุเหล็ก 60 มิลลิกรัมและโฟเลท 400 ไมโครกรัม หรือพิจารณา Iodine GPO 150 ประกอบด้วยไอโอดีน 150 ไมโครกรัมใช้สำหรับหญิงตั้งครรภ์และหลังคลอดที่เป็นโรคธาลัสซีเมียรุนแรงและเสี่ยงต่อการได้ธาตุเหล็กมากเกินไป

? ? ? ? ? ?อาหารปกติที่สตรีควรรับประทานควรพิจารณาตามธงโภชนาการ ได้แก่ ข้าว วันละ 8-12 ทัพพี ผัก วันละ 4-6 ทัพพี ผลไม้ วันละ 3-5 ส่วน นม วันละ 2-3 แก้ว เนื้อสัตว์ วันละ 6-12 ช้อนโต๊ะ และน้ำมัน น้ำตาล เกลือ วันละน้อย ๆ

? ? ? ? ? สำหรับตัวอย่างอาหารที่ควรเพิ่มใน 1 วันสำหรับแม่ที่ให้นมลูก (ประมาณ 500 กิโลแคลอรี โปรตีน 20 กรัม) ได้แก่ นม 1 แก้ว ข้าวสวย 2 ทัพพี เนื้อสัตว์สุก 3 ช้อนโต๊ะ ผักและผลไม้ อย่างละ 1-2 ส่วน หรือ นม 1 แก้ว และก๋วยเตี๋ยวน้ำ 1 ชาม

ที่มาจาก การประชุมเรื่องโภชนการมารดาตั้งครรภ์และให้นมบุตร ในการประชุมเครือข่ายการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ภาคเหนือ ที่คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 30 พฤศจิกายน- 1 ธันวาคม 2560