รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์?
? ? ? ? ? ? ? ? ?ความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก?แม้ว่าจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่ได้มีการศึกษาในแม่ที่มีวิธีการคลอดที่แตกต่างกัน พบว่าแม่ที่คลอดลูกเองมีความผูกพันกับลูกมากกว่าแม่ที่ผ่าตัดคลอด นอกจากนี้ ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของแม่กับลูกกับการประเมินคะแนนการเข้าเต้า?(LATCH score)1?ซึ่งสิ่งนี้น่าจะสะท้อนถึงกระบวนการส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูกน่าจะมีเร็วกว่าหรือมากกว่า สมมุติฐานนี้น่าจะเกิดจาก แม่ที่คลอดลูกเองจะให้นมลูกได้เร็วกว่า การที่แม่นำลูกเข้าเต้าได้ดี มีคะแนนการประเมินการเข้าเต้าสูง จะกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนออกซิโทซินได้ดี ฮอร์โมนออกซิโทซินจะมีความสัมพันธ์กับการสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูก ดังนั้น แพทย์ผู้ดูแลควรให้คำแนะนำแก่แม่ว่า หากแม่สามารถคลอดได้เองจะส่งเสริมความรักความผูกพันระหว่างแม่กับลูกได้มากกว่า ควรหลีกเลี่ยงการผ่าตัดคลอดที่ไม่จำเป็น แต่หากแม่จำเป็นต้องผ่าตัดคลอด การนำลูกมากระตุ้นดูดนมตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอดยิ่งเร็ว น่าจะยิ่งช่วยสร้างความรักความผูกพันระหว่างแม่และลูกได้ดี และยังช่วยให้โอกาสที่แม่จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้นานกว่า ซึ่งจะมีประโยชน์ที่ดีต่อทั้งแม่และลูก??
เอกสารอ้างอิง?
1.Cetisli NE, Arkan G, Top ED. Maternal attachment and breastfeeding behaviors according to type of delivery in the immediate postpartum period. Rev Assoc Med Bras (1992) 2018;64:164-9.?
??