รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การให้การดูแล
- คัดกรองภาวะเบาหวาน โรคหรือความเจ็บป่วยอื่นๆ ที่มีผลต่อการสร้างและทำให้น้ำนมมาช้า
- หากมีสาเหตุให้น้ำนมมาช้า พยายามแก้ไขสาเหตุก่อนการให้อาหารเสริมอื่นๆ
- ให้การสนับสนุน และแนะนำการปฏิบัติที่เหมาะสมของมารดาและทารกที่จะไม่รบกวนหรือเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
- สอนทักษะการบีบเก็บน้ำนม? หากทารกมีความจำเป็นต้องแยกจากมารดา
- ประเมินความเร่งด่วนในการนัดติดตามดูแลปัญหาของมารดาและทารก
ขั้นตอนก่อนการอนุญาตให้มารดาและทารกกลับบ้าน
- ทบทวนมารดาถึงการตัดสินใจในเรื่องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และระยะเวลาที่ต้องการให้นมลูก
- ย้ำให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว
- เตือนมารดาในเรื่องการรับประทานอาหารให้หลากหลายและครบห้าหมู่ และควรดื่มน้ำเมื่อมีอาการกระหาย
- นัดติดตามมารดาและทารกที่คลินิกนมแม่ คลินิกหลังคลอด หรือคลินิกเด็กดี ภายในสัปดาห์แรก ช่วงระยะเวลาเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับความจำเป็นต้องติดตามปัญหาและอุปสรรคที่พบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาและทารกในแต่ละคู่
เอกสารอ้างอิง
- The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
คำแนะนำที่ให้
- อธิบายลักษณะและพฤติกรรมการกินนมของทารก
- แนะนำการเปลี่ยนแปลงปกติของน้ำหนักทารกที่ลดลงหลังคลอด และการเพิ่มขึ้นตามกราฟของการเจริญเติบโต
- กระตุ้นให้มารดาให้นมทารกตามความต้องการ ประมาณ 8-12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
- อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด
- อธิบายถึงความเสี่ยงของการใช้จุกนมหลอกและควรหลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอก
- อธิบายการขับถ่ายปกติของทารก
- ควรมีการเสริมวิตามินดีวันละ 400 ยูนิตแก่ทารก (ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ โดยพิจารณาจากข้อมูลการขาดวิตามินดีที่พบในมารดาและทารก)
เอกสารอ้างอิง
- The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การตรวจมารดาและทารก
- ชั่งน้ำหนักและตรวจประเมินอายุครรภ์ของทารก
- ประเมินพฤติกรรมการตอบสนองของทารกต่อการกระตุ้นทางระบบประสาท
- คำนวณการขึ้นของน้ำหนักทารกและการลดของน้ำหนักทารกหลังคลอด
- ตรวจและให้ความสนใจกับลักษณะในช่องปากทารกและการทำงานของกล้ามเนื้อที่ใช้ในการกินนม
- ประเมินว่าทารกมีภาวะขาดน้ำหรือไม่
- สังเกตภาวะตัวเหลืองและค่าสารเหลืองโดยเปรียบเทียบกับกราฟที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของทารกที่มีภาวะตัวเหลือง
- สังเกตมารดาขณะให้นมลูก
- สอนทักษะให้มารดาสามารถบีบน้ำนมด้วยมือ
- กระตุ้นให้มารดาสนใจในการตรวจการเปลี่ยนแปลงของเต้านมในระหว่างให้นมบุตร และในกรณีที่สงสัยว่ามีภาวะแทรกซ้อน ควรปรึกษาแพทย์
เอกสารอ้างอิง
- The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????????? การประเมินการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อบุคลากรทางการแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำและคำปรึกษา รวมทั้งจัดการนัดติดตามมารดาและทารกได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะลดความเสี่ยงในการหยุดการให้นมแม่ในมารดาและทารกตั้งแต่ในระยะแรกได้ มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติดังนี้
??????????????? การประเมินมารดาและทารก
- ทบทวนประวัติการฝากครรภ์ การคลอด ระยะหลังคลอดของมารดาและทารก
- พูดคุยกับมารดาถึงการเริ่มต้นให้ลูกกินนมแม่ว่า ให้ภายใน 30 นาทีแรกหลังคลอดหรือไม่
- มารดาเคยเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาก่อนไหม
- มารดาให้นมลูกอย่างไรและรู้สึกอย่างไรขณะให้นมลูก
- มารดาได้โอบกอดทารกเนื้อแนบเนื้ออย่างต่อเนื่องและให้นมลูกตามความต้องการหรือไม่
- มารดาได้นำทารกเข้าเต้ากี่ครั้งใน 24-48 ชั่วโมงแรก
- ทารกได้รับอาหารอื่นใดเสริมนอกเหนือจากนมแม่หรือไม่
- มารดาเปลี่ยนผ้าอ้อมทารกกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมง
- ทารกถ่ายอุจจาระกี่ครั้งใน 24 ชั่วโมง
- มารดาได้รับประทานยาอะไรเป็นประจำหรือไม่
- สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
เอกสารอ้างอิง
- The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)