คลังเก็บป้ายกำกับ: แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกก่อนกลับบ้าน ตอนที่ 1

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 1 ปีหลังคลอด

image

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การนัดมารดาและทารกมาติดตามดูแลใน 12 เดือนหลังคลอด จะเป็นการติดตามดูการให้นมลูกของมารดาและสอบถามถึงอุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง พูดคุยกับมารดาถึงแรงกดดันต่างๆ ที่ต้องการให้มารดาหยุดการให้นมแม่ รวมถึงวิธีการหย่านมหากมารดามีความต้องการ ในระยะนี้ มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลมารดาและทารก ดังนี้

การประเมินการกินนมแม่

  • ลักษณะการกินนมของทารกเป็นอย่างไร
  • ทารกหลับในเวลากลางคืนนานไหม
  • ลักษณะการกินอาหารของมารดาเป็นอย่างไร
  • มารดาได้รับประทานยาใดเป็นประจำหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การตรวจมารดาและทารก

  • คำนวณน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงจากตั้งแต่เกิด การชั่งก่อนหน้านี้ และการชั่งน้ำหนักในครั้งนี้
  • ประเมินน้ำหนักของทารกโดยใช้กราฟติดตามการเจริญเติบโตของทารก
  • ตรวจร่างกายทารกโดยทั่วไปตามระบบ
  • ควรมีการตรวจความเข้มข้นของเลือดของทารก เพื่อตรวจสอบภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก หากทารกมีน้ำหนักขึ้นไม่เหมาะสม ลูกปฏิเสธการกินนมหรือมารดามีความวิตกกังวล

คำแนะนำที่ให้

  • ปกติมารดาควรให้นมทารก 4-8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • ทบทวนความสำคัญของการให้ลูกกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง
  • พูดคุยกับมารดาเรื่องการรับประทานธาตุเหล็กเสริม แนะนำให้ทารกกินชนิดและรสชาติของอาหารที่หลากหลาย
  • เสนอแนะให้มารดาป้อนน้ำนมที่บีบเก็บไว้หรืออาหารเสริมที่เป็นน้ำโดยใช้การป้อนด้วยถ้วย
  • พูดคุยกับมารดาในกรณีทารกมีฟันขึ้น
  • พูดคุยกับมารดาถึงพฤติกรรมของทารกที่เปลี่ยนไป การให้ความสนใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น และอาจมีการปฏิเสธการกินนม
  • พูดคุยกับมารดาเรื่องแรงกดดันให้หยุดหรือหย่านมทารกที่อาจเกิดจากคนในครอบครัวหรือเพื่อน
  • ทบทวนให้มารดาทราบถึงประโยชน์ในระยะยาวของการให้ลูกกินนมแม่
  • หากมารดามีความประสงค์จะหยุดให้นมลูก แนะนำขั้นตอนในการหย่านมทารก
  • แนะนำการรับประทานอาหารของมารดา
  • แนะนำให้มารดาตรวจเต้านมกับแพทย์

การให้การดูแล

  • หากทารกน้ำหนักขึ้นดีตามเกณฑ์และมารดารู้สึกพึงพอใจ การให้การดูแลอื่นๆ ยังไม่มีความจำเป็น

ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติก่อนมารดาและทารกกลับบ้าน

  • ชื่นชมมารดากับความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่ โดยเฉพาะหากมารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน
  • แทรกหรือเสริมข้อมูลให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ให้กำลังใจให้มารดาให้นมแม่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง
  • การนัดติดตามดูแลทารกอย่างต่อเนื่องยังมีความจำเป็นในช่วง 15 เดือน 18 เดือน 2 ปี หรือในทารกที่อายุมากกว่า 2 ปีขึ้นไป

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 9 เดือนหลังคลอด

IMG_1577

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การนัดมารดาและทารกมาติดตามดูแลใน 9 เดือนหลังคลอด จะเป็นการติดตามดูการให้นมลูกของมารดาและสอบถามถึงอุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง พูดคุยกับมารดาถึงแรงกดดันต่างๆ ที่ต้องการให้มารดาหยุดการให้นมแม่ที่อาจได้รับจากคนในครอบครัวหรือเพื่อน ซึ่งมารดาต้องมีความเข้าใจเพื่อจะได้ปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม ในระยะนี้ มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลมารดาและทารก ดังนี้

การประเมินการกินนมแม่

  • ลักษณะการกินนมของทารกเป็นอย่างไร
  • ทารกได้รับการให้นมแม่ตามความต้องการหรือไม่
  • ทารกหลับในเวลากลางคืนนานไหม
  • ลักษณะการกินอาหารของมารดาเป็นอย่างไร
  • มารดาได้รับประทานยาใดเป็นประจำหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การตรวจมารดาและทารก

  • คำนวณน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงจากตั้งแต่เกิด การชั่งก่อนหน้านี้ และการชั่งน้ำหนักในครั้งนี้
  • ประเมินน้ำหนักของทารกโดยใช้กราฟติดตามการเจริญเติบโตของทารก
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก หากทารกมีน้ำหนักขึ้นไม่เหมาะสมหรือดูดนมได้ไม่ดี
  • ตรวจร่างกายทารกโดยทั่วไปตามระบบ
  • ควรมีการตรวจความเข้มข้นของเลือดของทารก เพื่อตรวจสอบภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก

คำแนะนำที่ให้

  • ปกติมารดาควรให้นมทารกน้อยกว่า 6-8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
  • ทบทวนความสำคัญของการให้ลูกกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง
  • พูดคุยกับมารดาการรับประทานธาตุเหล็กเสริม
  • เสนอแนะให้มารดาป้อนน้ำนมที่บีบเก็บไว้หรืออาหารเสริมที่เป็นน้ำโดยใช้การป้อนด้วยถ้วย
  • พูดคุยกับมารดาในกรณีทารกมีฟันขึ้น
  • พูดคุยกับมารดาถึงพฤติกรรมของทารกที่เปลี่ยนไป และอาจมีการปฏิเสธการกินนม
  • พูดคุยกับมารดาเรื่องแรงกดดันให้หยุดหรือหย่านมทารกที่อาจเกิดจากคนในครอบครัวหรือเพื่อน
  • ทบทวนให้มารดาทราบถึงประโยชน์ในระยะยาวของการให้ลูกกินนมแม่
  • แนะนำการรับประทานอาหารของมารดา
  • แนะนำให้มารดาตรวจเต้านมกับแพทย์

การให้การดูแล

  • หากทารกน้ำหนักขึ้นดีตามเกณฑ์และมารดารู้สึกพึงพอใจ การให้การดูแลอื่นๆ ยังไม่มีความจำเป็น

ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติก่อนมารดาและทารกกลับบ้าน

  • ชื่นชมมารดากับความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่ โดยเฉพาะหากมารดาสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน
  • แทรกหรือเสริมข้อมูลให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ให้กำลังใจให้มารดาให้นมแม่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

 

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 6 เดือนหลังคลอด

IMG_1587

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การนัดมารดาและทารกมาติดตามดูแลใน 6 เดือนหลังคลอด จะเป็นการติดตามดูการให้นมลูกของมารดาและสอบถามถึงอุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันกับในช่วงระยะ 6 เดือนแรก แต่จะมีการเตรียมมารดาให้พร้อมสำหรับการเริ่มอาหารเสริมตามวัยและเสริมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ของทารกที่ทารกอาจขาดเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในการขาดสารอาหารเหล่านี้ ในระยะนี้ มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลมารดาและทารก ดังนี้

การประเมินการกินนมแม่

  • ลักษณะการกินนมของทารกเป็นอย่างไร
  • ทารกได้รับการให้นมแม่ตามความต้องการหรือไม่
  • ทารกได้รับอาหารอื่นใดเสริมนอกเหนือจากนมแม่หรือไม่
  • ทารกหลับในเวลากลางคืนนานไหม
  • มารดารู้สึกอย่างไรในการให้นมแม่
  • มารดาคิดว่าน้ำนมของตนเองเป็นอย่างไร
  • ลักษณะการกินอาหารของมารดาเป็นอย่างไร
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การตรวจมารดาและทารก

  • คำนวณน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงจากตั้งแต่เกิด การชั่งก่อนหน้านี้ และการชั่งน้ำหนักในครั้งนี้
  • ทารกควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 140-200 กรัมต่อสัปดาห์
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก หากทารกมีน้ำหนักขึ้นไม่เหมาะสมหรือดูดนมได้ไม่ดี
  • ตรวจร่างกายทารกโดยทั่วไปตามระบบ
  • ควรมีการตรวจคัดกรองอาการซึมเศร้าในมารดา

คำแนะนำที่ให้

  • อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด
  • ทบทวนความสำคัญของการให้ลูกกินนมแม่อย่างต่อเนื่อง
  • พูดคุยกับมารดาถึงการเริ่มอาหารเสริมตามวัย
  • เสนอแนะให้มารดาป้อนน้ำนมที่บีบเก็บไว้หรืออาหารเสริมที่เป็นน้ำโดยใช้การป้อนด้วยถ้วย
  • พูดคุยกับมารดาการรับประทานธาตุเหล็กเสริม
  • พูดคุยกับมารดาในกรณีทารกมีฟันขึ้น
  • พูดคุยกับมารดาว่าทารกอาจจะมีความสนใจสิ่งรอบข้างมากขึ้น และอาจถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าให้ไปสนใจในระหว่างการกินนมได้
  • แนะนำเรื่องอาหารสำหรับมารดา
  • แนะนำการเสริมฟลูออไรด์ หากมีข้อบ่งชี้
  • แนะนำให้มารดาตรวจเต้านมกับแพทย์

การให้การดูแล

  • หากมีสาเหตุที่ทำให้น้ำนมไม่เพียงพอ พยายามแก้ไขสาเหตุก่อนการให้อาหารเสริมอื่นๆ
  • หากมีปัญหาต่อเนื่องที่เป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พิจารณาส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติก่อนมารดาและทารกกลับบ้าน

  • ชื่นชมมารดากับความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่
  • แทรกหรือเสริมข้อมูลให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ให้กำลังใจให้มารดาให้นมแม่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 4 เดือนหลังคลอด

IMG_1673

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การนัดมารดาและทารกมาติดตามดูแลใน 4 เดือนหลังคลอด จะเป็นการติดตามดูการให้นมลูกของมารดาและสอบถามถึงอุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับในช่วงระยะ 1-2 เดือน แนะนำการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของทารก และคัดกรองมารดาที่มีภาวะซึมเศร้า ในระยะนี้ มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลมารดาและทารก ดังนี้

การประเมินการกินนมแม่

  • ลักษณะการกินนมของทารกเป็นอย่างไร
  • ทารกได้รับการให้นมแม่ตามความต้องการหรือไม่
  • ทารกได้รับอาหารอื่นใดเสริมนอกเหนือจากนมแม่หรือไม่
  • ทารกหลับในเวลากลางคืนนานไหม
  • มารดารู้สึกอย่างไรในการให้นมแม่
  • มารดาคิดว่าน้ำนมของตนเองเป็นอย่างไร
  • ลักษณะการกินอาหารของมารดาเป็นอย่างไร
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

การตรวจมารดาและทารก

  • คำนวณน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงจากตั้งแต่เกิด การชั่งก่อนหน้านี้ และการชั่งน้ำหนักในครั้งนี้
  • ทารกควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 140-200 กรัมต่อสัปดาห์
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก หากทารกมีน้ำหนักขึ้นไม่เหมาะสมหรือดูดนมได้ไม่ดี
  • ตรวจร่างกายทารกโดยทั่วไป
  • ควรมีการตรวจคัดกรองอาการซึมเศร้าในมารดา

คำแนะนำที่ให้

  • อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด
  • แนะนำให้มารดาให้นมทารก 6-12 ครั้งต่อวัน และตามความต้องการของทารก
  • การให้นมแม่ในช่วงกลางคืน ปกติควรให้ 1-2 ครั้ง
  • อธิบายถึงจำนวนครั้งของอุจจาระปกติของทารกที่อาจจะลดลง
  • พูดคุยกับมารดาการรับประทานธาตุเหล็กเสริม
  • พูดคุยกับมารดาในกรณีทารกมีฟันขึ้น
  • พูดคุยกับมารดาว่าทารกอาจจะมีความสนใจสิ่งรอบข้างมากขึ้น และอาจถูกกระตุ้นจากสิ่งเร้าให้ไปสนใจในระหว่างการกินนมได้
  • แนะนำเรื่องอาหารสำหรับมารดา
  • พูดคุยกับมารดาถึงแผนการกลับไปทำงานของมารดาว่า จะเริ่มเมื่อไร สามารถให้นมทารกขณะทำงานได้หรือไม่ หรืออาจต้องใช้วิธีการบีบเก็บน้ำนม
  • แนะนำเรื่องการใช้ยาเบื้องต้นที่มักมีการใช้บ่อยๆ ซึ่งยาเหล่านี้หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาบรรเทาอาการหวัด

การให้การดูแล

  • หากมีสาเหตุที่ทำให้น้ำนมไม่เพียงพอ พยายามแก้ไขสาเหตุก่อนการให้อาหารเสริมอื่นๆ
  • หากมีปัญหาต่อเนื่องที่เป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พิจารณาส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ

ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติก่อนมารดาและทารกกลับบ้าน

  • ชื่นชมมารดากับความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่
  • แทรกหรือเสริมข้อมูลให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ให้กำลังใจให้มารดาให้นมแม่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.

 

แนวทางในการดูแลการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาและทารกที่นัดติดตาม 2 เดือนหลังคลอด

S__45850799

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????????? การนัดมารดาและทารกมาติดตามดูแลใน 2 เดือนหลังคลอด จะเป็นการติดตามดูการให้นมลูกของมารดาและสอบถามถึงอุปสรรคต่างๆ ที่จะทำให้ไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกันกับในช่วงระยะ 1 เดือน และเตรียมมารดาบางคนที่จะกลับไปทำงานให้มีความพร้อมในการคงให้นมลูก ในระยะนี้ มีข้อแนะนำแนวทางการปฏิบัติสำหรับการดูแลมารดาและทารก ดังนี้

??????????????? การประเมินการกินนมแม่

  • ลักษณะการกินนมของทารกเป็นอย่างไร
  • ทารกได้รับการให้นมแม่ตามความต้องการหรือไม่
  • ทารกได้รับอาหารอื่นใดเสริมนอกเหนือจากนมแม่หรือไม่
  • มารดารู้สึกอย่างไรในการให้นมแม่
  • มารดาคิดว่าน้ำนมของตนเองเป็นอย่างไร
  • ลักษณะการกินอาหารของมารดาเป็นอย่างไร
  • มารดาได้งดอาหารใดระหว่างการให้นมบุตรหรือไม่
  • สมาชิกในครอบครัวรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

? ? ? ? ? ? ? ? การตรวจมารดาและทารก

  • คำนวณน้ำหนักที่เปลี่ยนแปลงจากตั้งแต่เกิด การชั่งก่อนหน้านี้ และการชั่งน้ำหนักในครั้งนี้
  • ทารกควรจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 140-200 กรัมต่อสัปดาห์
  • สังเกตมารดาขณะให้นมลูก หากทารกมีน้ำหนักขึ้นไม่เหมาะสมหรือดูดนมได้ไม่ดี
  • ตรวจร่างกายทารกโดยทั่วไป

? ? ? ? ? ? ? ? ?คำแนะนำที่ให้

  • อธิบายให้มารดาเข้าใจถึงความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวในช่วงหกเดือนแรกหลังคลอด
  • แนะนำให้มารดาให้นมทารก 8-12 ครั้งต่อวัน และตามความต้องการของทารก
  • การให้นมแม่ในช่วงกลางคืน ปกติควรให้ 1-2 ครั้ง
  • อธิบายถึงจำนวนครั้งของอุจจาระปกติของทารกที่อาจจะลดลง
  • พูดคุยกับมารดาในกรณีที่ทารกมีฟันขึ้น
  • อธิบายถึงความเสี่ยงของการใช้จุกนมหลอกและควรหลีกเลี่ยงการใช้จุกนมหลอก
  • แนะนำเรื่องอาหารสำหรับมารดา
  • พูดคุยกับมารดาถึงแผนการกลับไปทำงานของมารดาว่า จะเริ่มเมื่อไร สามารถให้นมทารกขณะทำงานได้หรือไม่ หรืออาจต้องใช้วิธีการบีบเก็บน้ำนม
  • แนะนำเรื่องการใช้ยาเบื้องต้นที่มักมีการใช้บ่อยๆ ซึ่งยาเหล่านี้หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ยาบรรเทาอาการหวัด

? ? ? ? ? ? ? ? ? ?การให้การดูแล

  • หากมีสาเหตุที่ทำให้น้ำนมไม่เพียงพอ พยายามแก้ไขสาเหตุก่อนการให้อาหารเสริมอื่นๆ
  • หากมีปัญหาต่อเนื่องที่เป็นอุปสรรคในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ พิจารณาส่งต่อผู้เชี่ยวชาญ

? ? ? ? ? ? ? ? ?ขั้นตอนที่ควรปฏิบัติก่อนมารดาและทารกกลับบ้าน

  • ชื่นชมมารดากับความสำเร็จในการให้ลูกกินนมแม่
  • แทรกหรือเสริมข้อมูลให้มารดาทราบถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
  • ให้กำลังใจให้มารดาให้นมแม่ต่อไปอย่างต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

  1. The American of Obstetricians and Gynecologist, American Academy of Pediatrics. Breastfeeding handbook for physicians. 2nd edition. 2014.