คลังเก็บป้ายกำกับ: แนวทางการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับโรงพยาบาล ตอนที่ 4

แนวทางการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำหรับโรงพยาบาล ตอนที่ 4

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

เกณฑ์ความเสี่ยงในการหยุดการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก่อนเวลาอันควรในระยะแรกหลังคลอด1,2

  • มารดาที่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่น้อยกว่า 3  เดือน
  • มารดาที่วางแผนจะให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกก่อน 3 เดือน
  • มารดาที่ต้องกลับไปทำงานเร็วก่อน 3 เดือน
  • มารดาที่รู้สึกมีน้ำนมไม่เพียงพอ
  • มารดาที่เจ็บหัวนมหรือมีหัวนมหลังทารกดูดนมแบน
  • มารดาที่มีน้ำนมมาช้าเกิน 72 ชั่วโมงหลังคลอด
  • มารดาที่ไม่สามารถจะบีบหัวน้ำนมด้วยมือ
  • มารดาที่ได้รับยาแก้ปวดในกลุ่มมอร์ฟีนในระยะหลังคลอด
  • ทารกที่กินนมผงดัดแปลงสำหรับทารกตั้งแต่ในระยะแรกหลังคลอด
  • ทารกคลอดก่อนกำหนด
  • ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย
  • ทารกครรภ์แฝด
  • ทารกที่มีความผิดปกติของกายวิภาคในช่องปาก ได้แก่ ทารกที่มีปากแหว่งเพดานโหว่ ลิ้นใหญ่คับปาก คางเล็ก และทารกที่มีภาวะลิ้นติด
  • ทารกที่มีความผิดปกติของระบบประสาท ได้แก่ กลุ่มโรคทางพันธุกรรมที่มีกล้ามเนื้อเกร็งตัว (hypertonia) หรือการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ (hypotonia)
  • ทารกที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะตัวเหลือง หายใจเร็ว มีภาะขาดออกซิเจนในครรภ์ มีการติดเชื้อ หรือมีการบาดเจ็บระหว่างการคลอด
  • ทารกที่มีอาการง่วงหลับต่อเนื่อง
  • ทารกที่มีการเข้าเต้าที่ยากลำบาก
  • ทารกที่ดูดนมไม่ต่อเนื่องหรือไม่มีประสิทธิภาพ

เอกสารอ้างอิง

1.         Feldman-Winter L, Kellams A, Peter-Wohl S, et al. Evidence-Based Updates on the First Week of Exclusive Breastfeeding Among Infants >/=35 Weeks. Pediatrics 2020;145.

2.         Puapornpong P, Paritakul P, Suksamarnwong M, Srisuwan S, Ketsuwan S. Nipple Pain Incidence, the Predisposing Factors, the Recovery Period After Care Management, and the Exclusive Breastfeeding Outcome. Breastfeed Med 2017;12:169-73.