รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
? ? ? ? ? ? ?ในการที่ทารกจะดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทารกต้องอมหัวนมและลานนมพร้อมประกบติดที่เต้านม เพื่อออกแรงดูดที่ทำให้เกิดความดันอากาศในช่องปากทารกลดลง ซึ่งจะทำให้น้ำนมไหลออกมา ร่วมกับการช่วยบีบตัวของเซลล์เยื่อบุกล้ามเนื้อต่อมน้ำนมที่บีบไล่น้ำนมออกมา ทารกก็จะดูดนมได้ง่ายขึ้น ในกรณีที่ทารกเข้าเต้าโดยอ้าปากอมหัวนมและลานนม แต่ไม่ประกบติดที่เต้านมเกิดได้จาก
? ? ? ? ? ? ? -การอมหัวนมและลานนมไม่เหมาะสม หากทารกอ้าปากไม่กว้างพอ อมหัวนมและลานนมไม่ลึกพอจะไม่สามารถประกบติดเต้านมได้ หรือในกรณีที่หัวนมลึกเกินไปจนไปกระตุ้นกลไกในการสำรอกออก (gag reflex) ทารกก็จะคายเต้านมออกไม่ประกบติดเต้านมเช่นกัน
? ? ? ? ? ? ?-น้ำนมไหลเร็วมากเกินไป ทารกอาจสำลัก หรือออกน้อยเกินไป ทารกอาจหงุดหงิดและคายเต้า
? ? ? ? ? ? ?-ความผิดปกติในช่องปากทารก ทารกมีภาวะลิ้นติด เพดานสูง หรือมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
? ? ? ? ? ? ?-ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ทารกกลุ่มอาการดาวน์
? ? ? ? ? ? ?-ทารกที่ขาดอาหาร อ่อนแรง หรือหายใจเร็ว มีน้ำมูกในช่องทางเดินหายใจส่วนบน หรือมีการเจ็บป่วย
?-ทารกกินนมจากเต้านมอิ่มแล้ว จึงคายเต้านมออก
? ? ? ? ? ? ?จะเห็นว่า มีหลายสาเหตุที่ทำให้ทารกเข้าเต้าแล้วไม่ประกบติดเต้านม มารดาและบุคลากรทางการแพทย์จึงควรเอาใจใส่และสังเกตถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุ เพื่อที่จะให้การดูแลแก้ไขได้อย่างเหมาะสม
เอกสารอ้างอิง
- Cadwell K, Turner-Maffei C. Pocket guide for lactation management. 2nd?ed. Burlington: Jones & Bartlett Learning 2014.