รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
ในสภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ มีการแข่งขันสูง การสนับสนุนให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวหกเดือน และให้ต่อเนื่องร่วมกับอาหารเสริมตามวัยจนกระทั่งครบสองปีอาจพบอุปสรรคจากเศรษฐานะของบิดามารดาของทารก เนื่องจากบิดามารดามักต้องกลับไปทำงานหลังจากการลาพักหลังคลอดบุตร ซึ่งทำให้บิดามารดาต้องตัดสินใจว่าจะให้ลูกกินนมแม่ต่อ หรือจะหยุดให้นมแม่เปลี่ยนเป็นนมผงดัดแปลงสำหรับทารก ซึ่งมีตัวอย่างการศึกษาจากประเทศจีนพบว่า มารดาที่มีฐานะปานกลางส่วนหนึ่งเลือกที่จะหยุดนมแม่และให้นมผงดัดแปลงสำหรับทารกแทน เนื่องจากสถานที่ทำงานมีการเอื้อต่อการที่จะบีบเก็บนมแม่น้อย (พบเพียงร้อยละ 2.6)1 ดังนั้น หากต้องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปฏิบัติของบิดามารดาในการที่จะคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ตามข้อแนะนำ นอกจากการให้ความรู้และเปลี่ยนทัศนคติให้มีความเหมาะสมแล้ว การสนับสนุนให้เกิดมุมนมแม่หรือห้องเก็บนมแม่จากนโยบายของภาครัฐร่วมกับการบริหารจัดการองค์กรที่มีความรับผิดชอบและมีนโยบายในการช่วยเหลือสังคม (Social corporate responsibility) ของเอกชนน่าจะสร้างประโยชน์ที่เอื้ออำนวยให้มารดาสามารถผ่านอุปสรรคโดยสามารถคงการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้แม้ต้องกลับไปทำงาน
เอกสารอ้างอิง
- Chen C, Cheng G, Pan J. Socioeconomic status and breastfeeding in China: an analysis of data from a longitudinal nationwide household survey. BMC Pediatr 2019;19:167.