คลังเก็บป้ายกำกับ: เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด

การเจ็บครรภ์และการคลอด

? ? ? ? ? ? ???เมื่อการเจ็บครรภ์และการคลอดมาถึง? คุณแม่อาจจะรู้สึกหวาดกลัว? ตื่นเต้น? เพราะจะเป็นช่วงที่มีการเจ็บครรภ์คลอดเป็นพักๆ สม่ำเสมอและมีความถี่ขึ้นเรื่อยๆ? ซึ่งหลังจากนั้นจะได้พบกับทารกตัวน้อย? การผจญกับการเจ็บครรภ์จะผ่านไปได้ถ้าคุณแม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อนและเข้าใจว่าจะเกิดอะไรขึ้นในระยะต่างๆ ของการคลอด? การให้กำเนิดลูกน้อยเป็นประสบการณ์อันยิ่งใหญ่? ยิ่งคุณแม่สงบใจและผ่อนคลายได้มากเท่าไรก็จะสามารถซึมซับความประทับใจและผ่านประสบการณ์ครั้งนี้ได้อย่างน่าจดจำ

การคลอดจะแบ่งเป็น 3 ระยะ

? ? ? ? ? ? ???ระยะที่หนึ่ง? จะเป็นช่วงที่คุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์สม่ำเสมอและถี่ขึ้น? จะพบท้องแข็งเกร็งเป็นก้อนนูนขึ้นมา? เกิดจากการหดรัดตัวของมดลูกเป็นระยะๆ? ระยะนี้จะกินเวลานาน 8-10 ชั่วโมงในท้องแรก และ 6-8 ชั่วโมงในท้องหลัง การผ่านช่วงเวลานี้จะสำเร็จได้ด้วยดี หากได้รับการอบรมเรื่องการคลอดมาก่อน ร่วมกับการพยายามผ่อนคลาย? สงบใจ? และปล่อยตัวตามสบาย

? ? ? ? ? ? ???เมื่อคุณแม่มีอาการเจ็บครรภ์คลอด? มีมูกเลือดหรือน้ำเดิน? ซึ่งเป็นอาการนำมาโรงพยาบาล? เมื่อมาถึงห้องคลอด? เจ้าหน้าที่จะสอบถามรายละเอียดของการเจ็บครรภ์ว่าเริ่มต้นเมื่อใด? ถี่บ่อยแค่ไหน? มีมูกเลือดจากช่องคลอดหรือน้ำเดินหรือไม่? จากนั้นจะมีแพทย์ถามประวัติซ้ำพร้อมตรวจร่างกาย? วัดความดันโลหิต? ชีพจร? การหายใจ? อุณหภูมิ? ชั่งน้ำหนัก? วัดส่วนสูง? ตรวจหน้าท้องและตรวจภายในว่าปากมดลูกเปิดมากแค่ไหนแล้ว? จากนั้นจะตรวจปัสสาวะเพื่อดูน้ำตาลและโปรตีน? เพื่อค้นหาภาวะแทรกซ้อนต่างๆ? หากพบว่าปากมดลูกเปิดไม่มาก? จะทำการสวนอุจจาระ? แล้วย้ายเข้ารอคลอดในห้องรอคลอด

? ? ? ? ? ? ???ห้องรอคลอด? จะมีพยาบาลและแพทย์มาตรวจการหดรัดตัวของมดลูกและตรวจภายในเป็นระยะ? เพื่อดูความก้าวหน้าของการคลอด? การคลอดจะเข้าสู่ระยะที่สองเมื่อปากมดลูกเปิดเต็มที่? หรือปกติประมาณ 10 เซนติเมตร? ในระยะนี้คุณแม่มักจะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำงดอาหาร? และได้รับน้ำเกลือเพื่อการเตรียมพร้อมสำหรับการดมยาสลบในการผ่าคลอดและภาวะฉุกเฉินในการสตั้งครรภ์ต่างๆ? สำหรับอาการเจ็บครรภ์ในระยะนี้? แพทย์อาจพิจารณาให้ยาระงับความรู้สึกวิธีต่างๆ หรือใช้ยาแก้ปวดตามความเหมาะสม ในบางสถานพยาบาลคุณพ่ออาจมีส่วนร่วมในการลดความเจ็บปวดจากการเจ็บครรภ์คลอดโดยอยู่ข้างเตียง พูดให้กำลังใจ นวดหรือกดบริเวณสันหลังส่วนเอวอันจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การมีส่วนร่วมในกระบวนการคลอดและส่งเสริมแรงใจให้แก่มารดาเป็นอย่างมาก

? ? ? ? ? ? ???ระยะที่สอง ?เป็นระยะที่ปากมดลูกเปิดเต็มที่และจะมีการคลอดของทารกจนเสร็จสิ้น? ในระยะนี้คุณแม่จะได้รับการย้ายเข้าสู้ห้องคลอด? และนอนอยู่ในท่าเตรียมคลอด? ซึ่งจะอยู่ในท่านอนหงาย? ศีรษะยกสูงหรือขึ้นขาหยั่ง? จากนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการคลอดทารกคือ? แรงเบ่งของคุณแม่? การเรียนรู้และได้รับการอบรมเรื่องการเบ่งคลอด? จะช่วยให้คุณแม่ออกแรงเบ่งตลอดได้ถูกวิธี? โดยเมื่อมีการเจ็บครรภ์คลอด? มดลูกเริ่มหดรัดตัว? คุณแม่ควรหายใจเข้าลึก? กลั้น และเบ่งยาว?? เมื่อหมดแรงเบ่งสูดหายใจเข้าลึก กลั้น และเบ่งยาวซ้ำ? ในการหดรัดตัวของมดลูก 1 ครั้งควรเบ่งยาวได้ 2-3 ครั้ง ขณะที่คุณแม่เบ่ง พยาบาลหรือบางแห่งจะให้คุณพ่อช่วยให้กำลังใจ ให้จังหวะการเบ่งและเชียร์เบ่งคลอด การเบ่งคลอดที่ถูกต้องจะทำให้ทารกเคลื่อนตัวลงมาอย่างเหมาะสม เมื่อทารกเคลื่อนตัวลงมาที่ปากช่องคลอด แพทย์จะช่วยทำคลอดโดยฉีดยาชาระงับความรู้สึกบริเวณฝีเย็บ และอาจพิจารณาตัดฝีเย็บเพื่อช่วยเหลือกลไกการคลอด หลังจากนั้นแพทย์จะทำคลอดทารกโดยช่วยประคองศีรษะทารก คลอดไหล่ ตัวและขา

? ? ? ? ? ? ???เมื่อทารกคลอดแล้ว? แพทย์จะทำการดูดน้ำคร่ำในปากและจมูกของทารกโดยใช้ลูกยางแดง? เพื่อให้ช่องทางเดินหายใจโล่ง ช่วยกระตุ้นทารกและช่วยให้ทารกเริ่มหายใจ? จากนั้น จะเช็ดตัวทารกให้แห้ง? ห่มผ้าให้อบอุ่น? และอาจพิจารณานำทารกมาวางไว้บนหน้าอกคุณแม่เพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ระหว่างแม่และลูก และให้ทารกดูดนมเพื่อกระตุ้นกลไกการสร้างและหลั่งน้ำนม? ขณะเดียวกัน แพทย์ก็จะพิจารณาทำคลอดรกซึ่งจะเป็นการคลอดในระยะที่สาม? ระยะที่สองนี้โดยปกติในท้องแรกจะใช้เวลา 1-2 ชั่วโมง ส่วนในท้องหลังจะใช้เวลา ? -1 ชั่วโมง

? ? ? ? ? ? ???ระยะที่สาม?? เป็นระยะที่จะเกิดการคลอดของรก? หลังทารกคลอดปกติรกจะเริ่มลอกตัวภายใน 5 นาที เมื่อรกลอกตัวแล้วแพทย์จะพิจารณาทำคลอดรก โดยอาจจะทำการกดบริเวณหน้าท้องหรือท้องน้อยของคุณแม่เพื่อดันไล่รกลงมาที่ช่องคลอด และช่วยทำคลอดรก หลังคลอดรก แพทย์จะทำการตรวจสอบหาบาดแผลในช่องทางคลอด และพิจารณาเย็บซ่อมแซมโดยใช้ยาชาระงับความรู้สึก โดยมากระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที

? ? ? ? ? ? ???หลังจากระยะนี้แล้ว คุณแม่จะพักอยู่ในห้องคลอดต่อไปประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพื่อสังเกตภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การตกเลือดหลังคลอด หลังจากนั้นจะได้รับการย้ายเข้าสู่หอผู้ป่วยหลังคลอด ซึ่งในระยะนี้คุณแม่มักจะหลับ เนื่องจากการเหนื่อยและอ่อนเพลียจากการคลอด การพักผ่อนในโรงพยาบาลมักใช้เวลาเพียง 1-2 วันหลังคลอดในกรณีที่คลอดปกติทางช่องคลอด จากนั้น แพทย์มักอนุญาตให้คุณแม่และทารกกลับไปพักผ่อนต่อที่บ้านได้

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์

เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด

เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอด

??????????????? เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ย่างเข้าเดือนที่แปด ควรตรวจดูว่าได้เตรียมความพร้อมสำหรับการคลอดทารกน้อยแล้วหรือยัง ควรเตรียมของใช้ที่จำเป็นสำหรับการนอนโรงพยาบาล? และของใช้สำหรับการดูแลทารกและคุณแม่หลังคลอดด้วย โดยจัดกระเป๋าเตรียมคลอด

??????????????? กระเป๋าเตรียมคลอด? ควรจัดเตรียมพร้อมเพื่อสามารถหยิบฉวยได้ทันทีเมื่อมีความต้องการอย่างเร่งด่วน

– ชุดที่จะใส่หลังคลอดกลับบ้าน 1 ชุด

– ผ้าเช็ดตัวสีเข้ม? และผ้าขนหนูเช็ดหน้า 2 ผืน

– สบู่

– ยาสีฟัน? แปรงสีฟัน

– ผ้าอนามัยแบบห่วง

– หนังสืออ่านเล่น,? นิตยสาร,? วิทยุเล็กๆ

– เบอร์โทรศัพท์ของญาติพี่น้องและเพื่อน

– สำเนาเอกสารบัตรประจำตัวประชาชนของคุณพ่อและคุณแม่? สำเนาทะเบียนบ้าน ทะเบียนสมรสเพื่อใช้ในการทำสูติบัตร

– ของใช้สำหรับทารก? ผ้าอ้อม 2 ผืน เข็มกลัดซ่อนปลาย (หรืออาจใช้ผ้าอ้อมสำเร็จรูป)? เสื้อชุดหมีหรือเสื้อชุดนอน? ผ้าขนหนูผืนใหญ่

– หนังสือตั้งชื่อลูก เพื่อใช้อ่านและตั้งชื่อลูกให้ถูกใจและเหมาะสม

นอกจากนี้อาจเตรียมยกทรงสำหรับให้นมทารก 2-3 ตัว

 

บทความโดย รศ.นายแพทย์ภาวิน พัวพรพงษ์