รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
เกณฑ์การวินิจฉัยกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ในผู้ใหญ่1 จะแบ่งชนิดของกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ตามความรุนแรงของการมีภาวะฮอร์โมนเพศชายมากจากน้อยไปมาก ซึ่งเกณฑ์การวินิจฉัยจะมีรายละเอียดตามแต่ละหัวข้อ ดังนี้
- กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ที่ไม่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายมาก (non-hyperandrogenic PCOS) จะประกอบด้วย
- การมีอาการหรือลักษณะของการตกไข่น้อยหรือไม่มีการตกไข่
- การตรวจพบถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่จากคลื่นเสียงความเสี่ยงสูง
- กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ที่มีการตกไข่ (ovulatory PCOS) จะประกอบด้วย
- การมีอาการและ/หรือการตรวจพบการมีฮอร์โมนเพศชายมาก
- การตรวจพบถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่จากคลื่นเสียงความเสี่ยงสูง
- กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ที่มีภาวะฮอร์โมนเพศชายมาก (hyperandrogenic PCOS) จะประกอบด้วย
- การมีอาการและ/หรือการตรวจพบการมีฮอร์โมนเพศชายมาก
- การมีอาการหรือลักษณะของการตกไข่น้อยหรือไม่มีการตกไข่
- กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่แบบดั้งเดิม (classic PCOS) จะประกอบด้วย
- การมีอาการและ/หรือการตรวจพบการมีฮอร์โมนเพศชายมาก
- การมีอาการหรือลักษณะของการตกไข่น้อยหรือไม่มีการตกไข่
- การตรวจพบถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่จากคลื่นเสียงความเสี่ยงสูง
เอกสารอ้างอิง
- Escobar-Morreale HF. Polycystic ovary syndrome: definition, aetiology, diagnosis and treatment. Nat Rev Endocrinol 2018;14:270-84.
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
การให้การวินิจฉัยกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ต้องอาศัยจากประวัติอาการและอาการแสดง การตรวจร่างกาย และการตรวจพิเศษเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย อย่างไรก็ตาม เกณฑ์การวินิจฉัยในวัยรุ่นยังมีความแตกต่างจากเกณฑ์ในการวินิจฉัยในผู้ใหญ่ เนื่องจากอาการและลักษณะที่ตรวจพบบางอย่างที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการวินิจฉัยกลุ่มอาการนี้ในผู้ใหญ่สามารถพบได้บ่อยในวัยรุ่นปกติ จึงต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนในเกณฑ์การวินิจฉัยในวัยรุ่น เช่น ความผิดปกติของประจำเดือน การมีหน้ามันหรือมีสิว และการตรวจพบการมีถุงน้ำจำนวนมากที่รังไข่ ซึ่งสามารถพบได้ในวัยรุ่นปกติ ดังนั้น เกณฑ์การวินิจฉัยกลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ในวัยรุ่น1,2 จะใช้เกณฑ์ในการวินิจฉัยในสองหัวข้อหลัก ได้แก่
- การมีลักษณะของประจำเดือนที่ผิดปกติที่ไม่สอดคล้องกับอายุและมีความต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน 1-2 ปี
- การมีลักษณะที่บ่งถึงการมีภาวะฮอร์โมนเพศชายมากที่ชัดเจน คือ การมีสิวอักเสบ (acne vulgaris) หรือมีขนดก และการตรวจพบฮอร์โมน testosterone สูงอย่างต่อเนื่องตลอด
เอกสารอ้างอิง
- Ramezani Tehrani F, Amiri M. Polycystic Ovary Syndrome in Adolescents: Challenges in Diagnosis and Treatment. Int J Endocrinol Metab 2019;17:e91554.
- Rosenfield RL. The Diagnosis of Polycystic Ovary Syndrome in Adolescents. Pediatrics 2015;136:1154-65.
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)