คลังเก็บป้ายกำกับ: อาหารกับนมแม่

ผลของอาหารของมารดาต่อการสร้างน้ำนม

 

images3

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? การให้นมบุตรเป็นความสมบูรณ์ของวงจรการสืบพันธุ์ ร่างกายของมารดาจะเปลี่ยนแปลงระหว่างการตั้งครรภ์โดยจะมีการพัฒนาของเต้านมเพื่อสร้างน้ำนมและมีการเก็บสารอาหารและพลังงานเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนม หลังคลอดมารดาจะเพิ่มความอยากอาหาร ความกระหาย และมีการเปลี่ยนแปลงอาหารที่โปรดปราน การเตรียมตัวสำหรับมารดาในการสะสมสารอาหารสำหรับการตั้งครรภ์และให้นมบุตรมีความจำเป็น การขาดกระบวนการนี้ถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งที่ต้องให้ความใส่ใจในการดูแลรักษา

??????????? มีการศึกษาเกี่ยวกับความต้องการสารอาหารในมารดาที่ให้นมบุตรในหลากหลายวัฒนธรรมและในสภาวะการขาดสารอาหารหลายระดับ ข้อมูลยังมีความขัดแย้งกันเนื่องจากวิธีการเก็บตัวอย่างที่แตกต่างกันและการพัฒนาการของการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่ดีขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งจำเป็นต้องทบทวนด้วยความระมัดระวังและทราบถึงข้อจำกัดในแต่ละการศึกษาที่ทำในอดีตที่ผ่านมาด้วย

??????????? ปริมาณน้ำนมจะมีจำนวนที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงเวลาตั้งแต่สองสามสัปดาห์แรกหลังคลอดจนกระทั่งถึงหกเดือนหรือมากกว่านั้น แต่สามารถคาดคะเนได้จากช่วงเวลาและการกระตุ้นน้ำนมที่สม่ำเสมอ ยกเว้นในมารดาที่มีภาวะขาดสารอาหารหรือขาดน้ำระดับรุนแรง ซึ่งพบว่านมแม่จะลดลงเมื่อมารดามีภาวะขาดน้ำตั้งแต่ร้อยละ 10 หรือสังเกตจากมารดามีปริมาณปัสสาวะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

??????????? ภาวะขาดสารอาหารจะมีความซับซ้อน การขาดสารอาหารชนิดเดียวพบน้อย ภาวะขาดสารอาหารมีผลต่อปริมาณโดยรวมของน้ำนม โดยหากมีภาวะขาดอาหารรุนแรง น้ำนมจะลดลงและเมื่อภาวะขาดอาหารมากขึ้นน้ำนมจะหยุดไม่ไหล มีข้อมูลจากช่วงภาวะที่มีความอดอยากในสงครามโลกครั้งที่สอง พบว่าทารกที่คลอดจะมีน้ำหนักลดลงร้อยละ 10 ขณะที่มารดาน้ำหนักลดลงร้อยละ 4 ซึ่งส่วนนี้แสดงว่าร่างกายของมารดามีการเตรียมพร้อมสำหรับการสร้างน้ำนมการที่มารดาได้รับอาหารน้อยกว่า 1500 กิโลแคลอรีต่อวันจะมีปริมาณน้ำนมน้อยกว่ามารดาที่ได้สารอาหารมากกว่า 1500 กิโลแคลอรี และหากมารดาได้รับอาหารไม่น้อยกว่า 1500 กิโลแคลอรีหรือน้อยลงไม่ต่ำกว่าร้อยละ 32 เป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปริมาณน้ำนมไม่พบว่ามีการลดลง1

??????????? ปริมาณน้ำนมที่ทารกปกติที่รับประทานเฉลี่ย 750-800 กรัมต่อวัน โดยมีช่วงตั้งแต่ 450-1200 กรัมต่อวัน2 มีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำนม ได้แก่ ความถี่ ความแรงในการดูดนม ระยะเวลาในการดูดนม และการดูดนมให้เกลี้ยงเต้า นอกจากนี้ การตั้งครรภ์แฝดมีผลทำให้การผลิตน้ำนมมากขึ้นเพื่อจะรองรับการเลี้ยงดูทารกที่เป็นแฝด3

หนังสืออ้างอิง

1.???????????? Smith CA. Effects of maternal under nutrition upon the newborn infant in Holland (1944-1945). J Pediatr 1947;30:229-43.

2.???????????? Butte NF, Garza C, Stuff JE, Smith EO, Nichols BL. Effect of maternal diet and body composition on lactational performance. Am J Clin Nutr 1984;39:296-306.

3.???????????? Saint L, Maggiore P, Hartmann PE. Yield and nutrient content of milk in eight women breast-feeding twins and one woman breast-feeding triplets. Br J Nutr 1986;56:49-58.

การรับประทานผักหรือผลไม้ของมารดากับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่

ท้อง

รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์

??????????? อาหารของมารดา เชื่อว่ามีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มีการศึกษาว่า มารดาที่รับประทานผักผลไม้ 5 ชนิดต่อวันจะมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงกว่ามารดาทั่วไป 1.8 เท่า1 โดยมีช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 เท่ากับ 1.5-2.9 นอกจากนี้ยังมีการศึกษาถึงจำนวนของผักและผลไม้ที่รับประทานและความสัมพันธ์กับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่พบว่า มารดาที่รับประทานผักปรุงเริ่มต้นที่ครึ่งถ้วยหรือผักสดเริ่มต้นที่หนึ่งถ้วย หรือผลไม้เริ่มต้นที่หนึ่งชิ้นขนาดกลางหรือสองชิ้นขนาดเล็กจะมีการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่หกเดือนสูงขึ้น 1.6, 2.3, 3.5, 2.6, 3.7, 4.3 เท่าตามจำนวนที่เพิ่มขึ้นแต่ละเท่าของผักหรือผลไม้ตอนต้น2 อย่างไรก็ตามปัจจัยที่เป็นตัวกวนที่สำคัญคือ ความตั้งใจในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเชื่อว่ามีผลมากกว่าการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่ อายุมารดา การศึกษา ภาวะอ้วน การสูบบุหรี่ และสภาพเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น โดยบางปัจจัยมีผลตามขนาดของปัจจัยคือ การสูบบุหรี่ และดัชนีมวลกาย ซึ่งยังมีการศึกษาว่า การสูบบุหรี่และดัชนีมวลกายมีผลต่อการหยุดเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เร็วด้วย

หนังสืออ้างอิง

1.???????? Haslam C, Lawrence W, Haefeli K. Intention to breastfeed and other important health-related behaviour and beliefs during pregnancy. Fam Pract 2003;20:528-30.

2.???????? Amir LH, Donath SM. Maternal diet and breastfeeding: a case for rethinking physiological explanations for breastfeeding determinants. Early Hum Dev 2012;88:467-71.