รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
????????อาการกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux) และแสบร้อนหน้าอก ใช้การปฏิบัติตัวในการบรรเทาอาการ โดยรับประทานอาหารแต่ละมื้อปริมาณน้อย แต่บ่อยครั้งขึ้น หลังรับประทานอาหารไม่ควรเอนตัวลงนอน อาจใช้ชาคาโมไมล์ (chamomile) ช่วยลดอาการแน่นท้องได้และช่วยให้พักผ่อนได้ดีขึ้น11 ชาจากรากมาร์ชเมโล (marshmallow root) มีสารจำพวกแป้งช่วยเคลือบและป้องกันการระคายเคืองของผนังหลอดอาหาร12
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
????????? อาการปวดตึงกล้ามเนื้อ การนวดจะช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ อย่างไรก็ตาม ควรระมัดระวังในการนวดเนื่องจากการนวดในบางจุดอาจกระตุ้นให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกและอาจเป็นอันตรายได้1 การทาน้ำมันประคบสมุนไพร เป็นการใช้ยาภายนอก ส่วนใหญ่จะใช้ได้ แต่เนื่องจากมีลักษณะของน้ำมันและสมุนไพรที่หลากหลาย การทาหรือใช้ประคบเป็นจำนวนมากอาจมีการดูดซึมของน้ำมันและสมุนไพรที่ใช้เข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่สูง ดังนั้น การใช้ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง
รศ.นพ.ภาวิน พัวพรพงษ์
??????????? ในสตรีที่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงของร่ายกายทางกายภาพและสรีรวิทยาที่ทำให้เกิดอาการจากการเปลี่ยนแปลงนี้ได้หลายอย่าง ได้แก่ การปวดบริเวณหัวหน่าวจากการตึงตัวของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก (round ligament pain) การปวดหลัง อาการคลื่นไส้อาเจียน อาการแสบร้อนท้อง และท้องผูก อาการเหล่านี้บางอาการอาจใช้การปฏิบัติตัวช่วยลดอาการได้ หากยังไม่ได้ผลอาจใช้ยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการ แต่การแพทย์ทางเลือกก็เป็นการแก้ปัญหาอาการเหล่านี้ได้วิธีหนึ่งซึ่งบุคลากรทางการแพทย์ควรมีความรู้ในแนวกว้างเพื่อให้คำแนะนำกับสตรีที่ตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม
การปวดบริเวณหัวหน่าวจากการตึงตัวของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก (round ligament pain) และการปวดหลัง การใช้โยคะสามารถบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ การขยับกระดูกอุ้งเชิงกรานไปทางด้านหน้าสลับกับด้านหลังจะลดอาการปวดบริเวณหัวหน่าวจากการตึงตัวของเส้นเอ็นที่ยึดมดลูก การคลุกเข่าและใช้มือทั้งสองข้างวางกับพื้นจากนั้นโก่งตัว คลายกล้ามเนื้อหลังเป็นจังหวะจะลดอาการปวดหลังได้1 และการฝังเข็มช่วยในเรื่องการปวดหลังในระหว่างการตั้งครรภ์ได้2
แหล่งความรู้ เกี่ยวกับสูติ-นรีเวช (Obstetrics-Gynecology)